บทความน่ารู้

ต่อกรความรู้สึก “ดีไม่พอ” ด้วยวิธี Self-Affirmation

          เคยมีช่วงเวลาที่สงสัยว่าตัวเอง “ดีพอหรือเปล่า” บ้างไหม? หากเป็นเช่นนั้นก็อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะในความเป็นจริงแล้วยังมีคนอีกมากมายที่กังวลเรื่องเดียวกับคุณ

          การรู้สึกถึงปมด้อย ความไม่ดีพอ ความรู้สึกไร้ค่า และรู้สึกว่าการที่เป็นตัวเองนั้น “ไม่พอ” สามารถเป็นความท้าทายทางจิตใจที่ทำให้ปวดใจเป็นอย่างมาก ไม่ว่าความรู้สึกเหล่านี้จะเผยตัวออกมาด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานและมีความเกี่ยวข้องกับปมบาดแผลทางใจหรือปัญหาสุขภาพจิต (เช่น โรคซึมเศร้า) ความรู้สึกเหล่านี้ก็เป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับหลาย ๆ คน ซึ่งนอกจากความหนักใจที่เกิดขึ้นเมื่อเผชิญกับคำถาม “ฉันดีพอหรือเปล่า?” แล้ว ความรู้สึกด้อยกว่าและไร้ค่ายังสามารถสร้างความท้าทายด้านการสร้างแรงพลักดัน ความรู้สึกว่าตัวเองมีความสามารถ การทำงาน การเชื่อมต่อกับตนเองและผู้อื่น อารมณ์ซึมเศร้า ความรู้สึกไร้พลัง และความรู้สึกสิ้นหวัง

          แต่ถึงแม้สถานการณ์จะดูสิ้นหวังถึงเพียงใด ก็จะยังมีความหวังในการก้าวผ่านสิ่งเหล่านั้นไปอยู่เสมอ

ประโยชน์ของ Self-affirmation (การตอกย้ำ ยืนยัน และเชื่อมั่นในคุณค่าของตัวเอง)

          หนึ่งในวิธีรับมือกับความรู้สึกดีไม่พอที่งานวิจัยทางจิตวิทยาสนับสนุนคือ Self-affirmation ซึ่งคือการตอกย้ำ ยืนยัน และเชื่อมั่นในคุณค่าของตัวเองด้วยคำพูดหรือประโยคที่ดีเกี่ยวกับคุณลักษณะ ความสามารถ ทักษะ และคุณค่าของเรา วิธีนี้สามารถช่วยลดความรู้สึกไร้พลัง ช่วยให้เรามองทะลุอุปสรรคที่ขวางทาง เพิ่มความรู้สึกว่าตัวเองมีความสามารถ ทำให้เรามองตัวเองในเชิงบวก ยึดโยงเราเข้ากับคุณค่าหลักที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญของการใช้ชีวิต และบ่มเพราะอารมณ์ทางบวกในตัว

          นอกจากประโยชน์ที่มีต่อการมองตัวเองแล้ว งานวิจัยยังเผยว่า Self-affirmation อาจช่วยสร้างแรงจูงใจและพัฒนาการทำงาน สมาธิ สุขภาพ ความสัมพันธ์ และด้านอื่น ๆ อีกมากมาย อาจกล่าวได้ว่ากลไล Self-affirmation สามารถช่วยให้เราเชื่อมต่อกับตัวเอง สิ่งที่เราเป็น และสิ่งที่เราให้ความสำคัญ เพื่อเชื่อต่อกับผู้อื่นและทุกสิ่งรอบตัวได้อย่างมีความหมายและมีประสิทธิภาพ

วิธีต่อกรกับคำถามที่ว่า “ฉันดีพอหรือเปล่า?”

          จงจำไว้ว่าคำถามนี้ไม่ได้กำหนดตัวตนของคุณ

- เมื่อต้องเผชิญหน้ากับคำถามที่ว่า “ฉันดีพอหรือเปล่า?” อย่าลืมว่ามันก็เป็นเพียงแค่คำถาม คุณค่าของเราไม่ได้ขึ้นอยู่กับความรู้สึกที่เรามี จงเผชิญหน้ากับตัวเองอย่างเห็นอกเห็นใจและใจดีกับตัวเองให้มาก

          ทำกิจกรรม Self-affirmation

- ลองเขียนข้อความที่ดีให้ตัวเองลงบนกระดาษโน้ตหรือโพสต์อิท แล้ววางไว้ในที่ที่สามารถมองเห็นได้บ่อยครั้ง ตัวอย่างของข้อความมีดังนี้

- คติพจน์เตือนใจหรือคติพจน์ทางศาสนาที่มีความหมายกับเรา

- ข้อความให้กำลังใจที่เกี่ยวข้องกับจุดแข็งของเรา

- ข้อความให้กำลังใจที่ย้ำเตือนถึงศักยภาพของเรา

          พูดคุยกับนักบำบัด

- ถ้าหากยังคงทุกข์ใจกับปัญหาที่เกิดขึ้น อย่าลืมว่ายังมีนักบำบัดที่ยินดีรับฟังและสนับสนุนการรักษาใจของเราอยู่

          มองหาการสนับสนุนในช่วงวิกฤติ

- ถ้าหากมีความคิดทำร้ายตัวเอง จบชีวิตตัวเอง หรือมีคนใกล้ตัวที่ตกอยู่ในความเศร้า อย่าลืมว่าคุณไม่จำเป็นต้องต่อกรกับปัญหาเหล่านั้นด้วยตัวเอง ลองใช้บริการสายด่วนสุขภาพจิตหรือบริการให้คำปรึกษาโดยนักจิตวิทยาดู

 

         HR องค์กรใด อยากบอกรักพนักงานแบบเกร๋ๆ เท่ๆ แนว HR ยุคใหม่ ที่ดูเเลแบบนั่งอยู่ในใจพนักงาน ลองติดต่อ Solution ปรึกษานักจิตวิทยาจาก Relationflip : Innovative Mental Healthcare Web Application ที่พร้อมช่วยพนักงานของคุณดีลกับปัญหาและเป็นที่ปรึกษาในทุกๆ เรื่องนะคะ Tel: 099-0026888 #InnovativeMentalHealthcare #MentalHealthcareService #Relationflip

Reference: https://www.psychologytoday.com/us/blog/lifting-the-veil-trauma/202103/when-we-dont-feel-good-enough