บทความน่ารู้

จิตวิทยาแห่งการตัดสินใจ

          เพราะอะไรเราจึงหยุดชะงักเมื่อต้องเจอกับการตัดสินใจ? นักจิตบำบัดได้ให้คำตอบเอาไว้ว่า อารมณ์และพฤติกรรมของเราไม่ได้รับอิทธิพลจากเหตุการณ์ แต่เป็นความคิดเห็นที่เรามีต่อเหตุการณ์นั้น ๆ ต่างหาก ขอให้ผู้อ่านทุกท่านเก็บคำตอบนี้เอาไว้ในใจ ก่อนเข้าสู่การวิเคราะห์กระบวนความคิดของคนที่มักจะลังเลไปด้วยกัน

          สมมติว่าคุณเป็นคนว่างงานที่ค้างชำระค่าที่พักมานานจนใกล้โดนขับไล่เต็มที คุณกำลังพิจารณากู้เงินซึ่งเป็นหนทางสุดท้าย แต่ในท้ายที่สุด คุณก็ได้รับข้อเสนองานที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย คุณจะรับงานหรือไม่? หรือว่าคุณจะปฏิเสธและหางานต่อไป? แล้วต้นทุนค่าเสียโอกาสกับการพลาดโอกาสที่จะได้รับข้อเสนอที่ดีกว่าล่ะ? การตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุดต้องคำนึงถึงความเป็นจริง แต่ถ้าในตอนนั้นใจคุณไม่พร้อมที่จะตัดสินใจล่ะ?

          อย่างที่กล่าวไป ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ไม่ได้มาจากตัวสถานการณ์ ในกรณีตัวอย่างข้างต้น ความยากลำบากในการตัดสินใจเรื่องข้อเสนองาน เกิดจากความคิดที่เกี่ยวข้องกับข้อดีและข้อเสียที่ไม่มีเหตุผล ซึ่งสิ้นเปลืองพลังความคิด เช่นความคิดที่ว่าฉันจะต้องตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์แบบ  การตัดสินใจของฉันต้องเป็นที่ยอมรับของคนรักและญาติมิตร ฉันจะต้องเลือกทางที่มีแต่ได้ไม่มีเสีย ฉันต้องตัดสินใจให้ได้เดี๋ยวนี้และจะต้องไม่มานั่งเสียใจในภายหลัง และฉันจะต้องไม่รู้สึกกังวลใจในการตัดสินใจ

 

          หากคุณพบว่าการตัดสินใจเป็นเรื่องยาก ลองใช้ขั้นตอนเหล่านี้เพื่อวินิจฉัยปัญหา:

          A. (เหตุการณ์ที่นำไปสู่ปัญหา) ฉันได้รับข้อเสนองาน ตำแหน่งนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย

          B. (ความคิดที่ผิด): ฉันจะต้องตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง

          C. (ผลพวงด้านอารมณ์หรือพฤติกรรมที่ไม่น่าพึงพอใจ): ความลังเล การผัดวันประกันพรุ่ง ความกังวลใจ

 

A B และ C คือขั้นตอนการวินิจฉัยปัญหา ซึ่งจะตามมาด้วยการแก้ไขที่ D E และ F

 

          D. (ตั้งคำถามกับความคิดที่ผิด): อะไรคือหลักฐานที่บ่งชี้ว่าฉันจะต้องตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง? มันถูกเขียนไว้ที่ไหน? การคิดแบบนี้จะช่วยฉันได้อย่างไร?

          E. (การคิดรูปแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพที่ตอบคำถาม): ไม่มีหลักฐานหรือตรรกะไหนที่บ่งชี้ว่าฉันจะต้องตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง แม้มันจะเป็นเรื่องที่ดีกว่า แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำเท่านั้น ฉันคงไม่ปรารถนาที่จะตัดสินใจผิดพลาด แต่ฉันสามารถทนต่อสิ่งที่ฉันไม่ชอบได้ ฉันก้าวข้ามการตัดสินใจแย่ ๆ ทั้งหลายในอดีตมาได้ แล้วก็จะก้าวข้ามมันไปในครั้งนี้เช่นกัน การกดดันตัวเองให้เลือกในสิ่งที่ถูกต้องไม่ได้ช่วยอะไร ซ้ำยังทำให้ฉันรู้สึกแย่ลง สถานการณ์เปลี่ยนไปตามกาลเวลาเสมอ การตัดสินใจที่ดีที่สุดในตอนนี้ก็อ่านเปลี่ยนไปได้เมื่องานดำเนินเช่นกัน ไม่มีทางที่เราจะกำหนดได้ว่าการตัดสินใจที่ดีที่สุดคืออะไร และฉันกำลังปล่อยเวลาให้เสียไปกับการคิดวนเวียนเช่นนี้ และถึงแม้ว่าฉันจะตัดสินใจผิดพลาดเสมอ (ซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้) มันก็ไม่ใช่จุดจบของจักรวาลสักหน่อย อย่างแย่ที่สุดมันก็เป็นเพียงการเสียเปรียบ ความลังเลใจของฉันไม่ได้เกิดขึ้นจากความเป็นไปได้ของการตัดสินใจที่พลาดพลั้งหรอก แต่เกิดจากความคิดไร้เหตุผลที่ว่าฉัน “จะต้อง” บรรลุเรื่องนั้น ๆ ต่างหาก

          F. (อารมณ์หรือพฤติกรรมใหม่ ๆ ): ถ้าฉันยังคงลังเลใจ โยนหัวก้อยแล้วทำตามนั้นไป

 

 

 

          HR องค์กรใด อยากบอกรักพนักงานแบบเกร๋ๆ เท่ๆ แนว HR ยุคใหม่ ที่ดูเเลแบบนั่งอยู่ในใจพนักงาน ลองติดต่อ Solution ปรึกษานักจิตวิทยาจาก Relationflip : Innovative Mental Healthcare Web Application ที่พร้อมช่วยพนักงานของคุณดีลกับปัญหาและเป็นที่ปรึกษาในทุกๆ เรื่องนะคะ Tel: 099-0026888 #InnovativeMentalHealthcare #MentalHealthcareService #Relationflip

Reference:  https://www.psychologytoday.com/intl/blog/the-three-minute-therapist/202308/the-psychology-of-decision-making