บทความน่ารู้

ทำความรู้จักกรอบคิดแบบพัฒนาได้ (Growth mindset)

          กรอบความคิดแบบพัฒนาได้ (Growth mindset) คือความเชื่อที่ว่าคุณสามารถพัฒนาทักษะและความสามารถพิเศษของตัวเองผ่านการฝึกฝนอย่างหนัก การใช้กลยุทธ์ที่ถูกต้อง และการชี้แนะจากผู้อื่นได้

          คำว่า “Growth mindset” ถูกคิดค้นโดยศาสตราจารย์ Carol Dweck นักจิตวิทยาชาวอเมริกันผู้เชียนหนังสือเรื่อง “Mindset: The New Psychology of Success” (กรอบความคิด จิตวิทยาแขนงใหม่แห่งความสำเร็จ) ซึ่งอธิบายเกี่ยวกับการที่ความเชื่อของคนเราในเรื่องความฉลาดและความสามารถในการเรียนรู้สามารถส่งผลกระทบต่อผลการทำงานได้

          งานวิจัยของ Carol Dweck ได้แสดงให้เห็นว่าผู้ที่เชื่อว่าตัวเองสามารถพัฒนาความสามารถพิเศษที่มีมักจะประสบความสำเร็จมากกว่าผู้ที่เชื่อว่าความสามารถของตัวเองเป็นสิ่งที่ตายตัวและไม่สามารถพัฒนาได้ เพราะผู้ที่มีกรอบความคิดแบบพัฒนาได้จะมองเห็นโอกาสแทนที่จะเป็นอุปสรรค และเลือกที่จะท้าทายตัวเองเพื่อเรียนรู้แทนที่จะเอาแต่อยู่ในพื้นที่สบายใจของตัวเอง (Comfort zone)

          เราทุกคนสามารถมีกรอบคิดแบบพัฒนาได้ และการเข้าใจในความจริงข้อนี้ก็เหมือนกับก้าวไปได้ครึ่งทางแล้ว

กรอบความคิดแบบพัฒนาได้ VS กรอบความคิดแบบยึดติด

          ขั้วตรงข้ามของกรอบความคิดแบบพัฒนาได้คือ “กรอบความคิดแบบยึดติด” (Fixed mindset) ในขณะที่กรอบความคิดแบบแรกให้ความสำคัญกับการพัฒนาตนเองที่ใช้เวลา กรอบความคิดแบบหลังกลับเป็นความเชื่อที่ว่าความสามารถต่าง ๆ เป็นความสามารถโดยกำเนิดที่ถูกกำหนดมาตั้งแต่แรกเกิด

          ผู้ที่มีกรอบความคิดแบบยึดติดมักเชื่อในสิ่งที่ธรรมชาติให้มามากกว่าผลจากการเลี้ยงดู จึงมักเชื่อว่าคุณสมบัติเช่นความฉลาด ความสามารถพิเศษ และลักษณะนิสัยเป็นสิ่งที่ติดตัวมาและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งทำให้พวกเขาเชื่อว่าคุณลักษณะเหล่านี้จะคงเดิมไปตลอดทั้งชีวิต

          กรอบความคิดเช่นนี้ถูกพิสูจน์แล้วว่าเป็นอุปสรรคในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยงานวิจัยของ Carol Dweck ได้เผยว่าผู้ที่มีกรอบความคิดแบบยึดติดมีแนวโน้มที่จะมองหาโอกาสในการแสดงจุดแข็งมากกว่าโอกาสที่อาจเปิดเผยจุดอ่อนของตน ซึ่งวิะีการใช้ชีวิตเช่นนั้นอาจย้อนกลับมาทำลายตนเองได้ เพราะอาจทำให้พลาดโอกาสในการเรียนรู้และเติบโตในที่สุด

 

          ตัวอย่างของกรอบคิดแบบพัฒนาได้

เมื่อคุณได้คะแนนการทดสอบที่ดีมาก
- กรอบความคิดแบบยึดติด: “เยี่ยมเลย ฉันคงเก่งเรื่องนี้เอามาก ๆ”
- กรอบความคิดแบบพัฒนาได้: “เยี่ยมเลย คงเป็นเพราะฉันพยายามและเรียนรู้อย่างหนักมาโดยตลอด”

 

เมื่อคุณเริ่มโปรเจ็กต์ใหม่ 
- กรอบความคิดแบบยึดติด: “ฉันหวังว่างานนี้จะเป็นงานที่ง่ายสำหรับฉัน”
- กรอบความคิดแบบพัฒนาได้: “ฉันหวังว่างานนี้จะเป็นงานที่น่าสนใจ”

 

เมื่อคุณได้รับคำติชมทางลบเกี่ยวกับงานของคุณ 


- กรอบความคิดแบบยึดติด: “เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าฉันไม่มีความสามารถทางด้านนี้เลย”
- กรอบความคิดแบบพัฒนาได้: “ฉันต้องกลับไปเรียนรู้เพิ่มเติมเสียแล้ว”

 

          ตัวอย่างเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของกรอบความคิดทั้งสองรูปแบบ กรอบความคิดแบบยึดติดทำให้คุณมองว่าความสามารถที่มีโดยกำเนิดเป็นสาเหตุของความสำเร็จและความผิดพลาด ซึ่งอาจทำให้คุณเอาแต่ทำในสิ่งที่คุณถนัดเพื่อความสบายใจของตัวเอง ในทางกลับกัน กรอบความคิดแบบพัฒนาได้จะทำให้คุณมองเห็นถึงความพยายามของตัวเอง มุ่งหน้าพัฒนาในส่วนที่ยังขาดหายไป และมองหาความท้าทายต่าง ๆ เมื่อมีโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ

 

 

         HR องค์กรใด อยากบอกรักพนักงานแบบเกร๋ๆ เท่ๆ แนว HR ยุคใหม่ ที่ดูเเลแบบนั่งอยู่ในใจพนักงาน ลองติดต่อ Solution ปรึกษานักจิตวิทยาจาก Relationflip : Innovative Mental Healthcare Web Application ที่พร้อมช่วยพนักงานของคุณดีลกับปัญหาและเป็นที่ปรึกษาในทุกๆ เรื่องนะคะ Tel: 099-0026888 #InnovativeMentalHealthcare #MentalHealthcareService #Relationflip

Reference: https://www.futurelearn.com/info/blog/general/develop-growth-mindset