บทความน่ารู้

ทำความรู้จักเจตคติรังเกียจกลุ่ม (Prejudice)

เจตคติรังเกียจกลุ่ม (Prejudice) คืออะไร?

          เรามักจะใช้คำประเภทเจตคติรังเกียจกลุ่ม (Prejudice) อคติ (Bias) และการไม่อดทนต่อความแตกต่าง (Bigotry) แทนกันในหลาย ๆ โอกาส อาจเป็นเพราะนิยามของแต่ละคำจะมีบางมุมที่ทับซ้อนกัน แต่เมื่อพูดถึง “เจตคติรังเกียจกลุ่ม” แล้ว ก็เป็นเรื่องสำคัญที่จะทำความเข้าใจส่วนที่แตกต่างที่แยกมันออกจากคำอื่น ๆ

          เพื่อทำความเข้าใจเจตคติรังเกียจกลุ่ม เราจำเป็นที่จะต้องรู้จัก “ภาพเหมารวม” เสียก่อน ภาพเหมารวม (stereotype) คือความเชื่อที่แพร่หลายเกี่ยวสมาชิกส่วนใหญ่ในกลุ่มทางสังคมซึ่งไม่คำนึงถึงความซับซ้อนและหลากหลายของมนุษย์ ภาพเหมารวมเป็นหนึ่งในทางลัดที่สมองสร้างขึ้นเพื่อจำแนกข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับ ประเภทของภาพเหมารวม เช่น Positive Stereotypes (ความเชื่อเกี่ยวกับคุณสมบัติที่ดีของคนกลุ่มหนึ่ง) หรือ Negative Stereotypes (ความเชื่อเกี่ยวกับคุณสมบัติที่ไม่ดีของคนกลุ่มหนึ่ง)

          ภาพเหมารวมคือรากฐานของ “เจตคติรังเกียจกลุ่ม” ซึ่งหมายถึงความรู้สึกเชิงลบที่อุปาทานขึ้นมาจากภาพเหมารวมของผู้คน กลุ่มทางสังคม หรือตัวตน เจตคติรังเกียจกลุ่มถูกสร้างขึ้นโดยไร้หลักฐานที่เพียงพอหรือเหตุผล และอาจอ้างอิงจากคุณสมบัติเหล่านี้:

     - เชื้อชาติ

     - เผ่าพันธุ์

     - สัญชาติ

     - เพศ

     - เพศวิถี

     - ศาสนา

     - ความพิการ

     - ชนชั้น

     - อายุ

          เจตคติรังเกียจกลุ่มของเราสามารถกำหนดวิธีที่เราปฏิบัติตนต่อผู้อื่น และอาจทำให้เกิดอคติ การคุกคามขนาดย่อม (Microaggression) การไม่อดทนต่อความแตกต่าง ความเกลียดชัง การเลือกปฏิบัติ หรือการกดขี่ขึ้นได้

          เจตคติรังเกียจกลุ่มและผลกระทบที่มีต่อสุขภาพ

          ปัจจัยกำหนดสุขภาพทางสังคม (Social Determinants of Health) คือปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่เป็นตัวกำหนดสถานะทางสุขภาพของบุคคลหรือประชากร เช่น สิทธิ์ในการเข้าถึงโอกาสด้านการศึกษา การเปิดรับอาชญากรรม และตัวเลือกด้านการคมนาคม เป็นต้น

          เจตคติรังเกียจกลุ่มมีความเกี่ยวพันกับการเลือกปฏิบัติที่ฝังรากลึกในสังคมซึ่งส่งเสียต่อกลุ่มด้อยโอกาสและส่งผลกระทบต่อการจัดสรรทรัพยากร โอกาส และเสถียรภาพของเศรษฐกิจและสังคม ยกตัวอย่างเช่น อัตราการจำคุกของกลุ่มด้อยโอกาสที่มากกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น ๆ

          ในระดับบุคคล เจตคติรังเกียจกลุ่มสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรง เพียงแค่คาดการณ์ถึง เจตคติรังเกียจกลุ่มหรือการเลือกปฏิบัติที่อาจต้องเผชิญก็สามารถกระตุ้นกลไกรับมือกับความเครียดทางร่างกายและจิตวิทยา ซึ่งเมื่อเผชิญกับความรู้สึกเหล่านี้เป็นเวลานานก็อาจนำไปสู่โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล หรือความรู้สึกเดียวดายและอ้างว้างได้

          นอกจากนี้ เจตคติรังเกียจกลุ่มยังอาจทำให้เราตีตราตนเอง (Self-stigmatization) โดยผู้คนจากกลุ่มชายขอบหรือกลุ่มที่ถูกเลือกปฏิบัติสามารถสร้างความเชื่อทางลบเกี่ยวกับตัวเองขึ้นมา ซึ่งจะเป็นทัศนคติที่ขวางหลาย ๆ สิ่งในชีวิต ทั้งความสัมพันธ์ การดำเนินชีวิต และการฟื้นฟูจิตใจของตน

 

         HR องค์กรใด อยากบอกรักพนักงานแบบเกร๋ๆ เท่ๆ แนว HR ยุคใหม่ ที่ดูเเลแบบนั่งอยู่ในใจพนักงาน ลองติดต่อ Solution ปรึกษานักจิตวิทยาจาก Relationflip : Innovative Mental Healthcare Web Application ที่พร้อมช่วยพนักงานของคุณดีลกับปัญหาและเป็นที่ปรึกษาในทุกๆ เรื่องนะคะ Tel: 099-0026888 #InnovativeMentalHealthcare #MentalHealthcareService #Relationflip

Reference: https://onlinegrad.pepperdine.edu/blog/prejudice-discrimination-coping-skills/