บทความน่ารู้

ทำอย่างไร…จึงจะสามารถปกป้องตนเองและผู้อื่นจากเจตคติรังเกียจกลุ่ม?

          แม้การสอนสั่งผู้ที่แสดงความเกลียดชังหรือเลือกปฏิบัติต่อคุณจะไม่ใช่ความรับผิดชอบของคุณ แต่การต่อกรกับเจตคติรังเกียจกลุ่ม (Prejudice) ก็เปรียบเสมือนหน้ากากให้ออกซิเจนบนเครื่องบิน กล่าวคือเมื่อคุณเดินทางกับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ สิ่งที่คุณควรทำคือใส่หน้ากากนั้นให้ตัวเองก่อน แล้วจึงยื่นมือเข้าช่วยเหลือคนที่นั่งอยู่ข้าง ๆ เพราะถ้าคุณไม่สร้างภูมิต้านทานและไม่ควบคุมอารมณ์ของตัวเองให้ดีเสียก่อน คุณก็จะไม่สามารถช่วยเหลือใครได้เลย

 

          แนวทางปฏิบัติจะช่วยให้คุณสามารถสร้างความยืดหยุ่นจากภายใน (Internal resiliencce) เพื่อต่อกรกับเจตคติรังเกียจกลุ่มและการเลือกปฏิบัติ

          - เผชิญหน้าความเป็นจริง

          การปฏิเสธความเป็นจริงอาจเป็นอาวุธร้ายแรงที่ย้อนกลับมาทำลายคุณได้ เพราะฉะนั้นจึงควรที่จะยอมรับประสบการณ์ของตน และเปิดใจคุยกับสมาชิกในครอบครัว เพื่อน หรือนักจิตวิทยาให้คำปรึกษา

          - ทำให้ประสบการณ์มีความหมาย

          ลองพิจารณาดูว่าคุณจะสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์เหล่านั้นได้อย่างไรบ้าง และอะไรคือข้อคิดที่ได้จากประสบการณ์เหล่านั้น โดยคนส่วนมากมักจะค้นพบความหมายของการเติบโตจากบาดแผลในอดีตด้วยการยื่นมือเข้าช่วยผู้อื่น

          - ควบคุมสิ่งที่อยู่ในการควบคุม

          แม้คุณจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงผู้อื่น แต่ก็ยังมีสิ่งที่คุณสามารถควบคุมได้อยู่ เช่น การควบคุมการปฏิบัติตนในการสนทนาและการหาทางออกที่ส่งผลที่ดี และคุณยังควรใช้ประโยชน์จากความเชื่อมั่นในตนเองทุกครั้งมีโอกาส

 

วิธีช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเจตคติรังเกียจกลุ่ม

 

1. รับฟัง และทำให้เขารู้สึกว่าความรู้สึกของเขามีคุณค่า

          เมื่อเพื่อนของคุณต้องการที่จะบอกเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับเจตคติรังเกียจกลุ่มหรือการถูกเลือกปฏิบัติ คุณควรที่จะทำตาม 2 ขั้นตอนต่อไปนี้ก่อนที่ตรงดิ่งไปที่การหาวิธีแก้ไขปัญหา:

          - รับฟังปัญหา

          หยุดทำสิ่งอื่นและให้เวลาเพื่อนในการพูดคุยอย่างเต็มที่ การพูดแทรกหรือด่วนสรุปไม่ว่าด้วยเจตนาใดก็ไม่ใช่สิ่งที่ควรทำ ลองฝึกฝนการฟังเชิงรุก (Active listening) การถามคำถาม การทวนสอบความเข้าใจ การทบทวนประเด็นสำคัญ และการสังเกตุอวจนภาษา

          - ทำให้เขารู้สึกว่าความรู้สึกของเขามีคุณค่า

          ในสถานการณ์ที่เจตคติรังเกียจกลุ่มเกิดขึ้นอาจมีตัวแปรที่อธิบายไม่ได้มากมาย เช่น เจตนาของอีกฝ่ายคืออะไร? พวกเขารู้ตัวไหมว่ากำลังพูดอะไรออกมา? และความไม่แน่นอนนี้ก็อาจทำให้ผู้คนรู้สึกว่าตัวเองเพียงแค่คิดไปเอง การทำให้คนคนหนึ่งรู้สึกว่าความรู้สึกของเขามีคุณค่าจึงไม่ได้เป็นเพียงการแสดงความเห็นชอบ แต่เป็นการบอกว่า “ฉันเข้าใจว่าทำไมคุณจึงรู้สึกเช่นนั้น เมื่อพิจารณาถึงตัวตนของคุณ ความเป็นมา รวมถึงประสบการณ์ที่ผ่านมา”

 

2. แทรกแซงเหตุการณ์

          เมื่อคุณพบเห็นการแสดงเจตคติรังเกียจกลุ่ม คุณสามารถทำตามแนวทางปฏิบัติ 4 Ds of bystander intervention ได้แก่

          - Direct (เข้าแทรกแซง)

          เข้าไปแทรกแซงและบรรยายสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น (เช่น “สิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ไม่ถูกต้อง กรุณาหยุดด้วย” หรือ “อย่ายุ่งกับพวกเขานะ” ) วิธีการที่เถรตรงเช่นนี้เป็นวิธีที่ง่ายแต่ได้ผลชะงัด แต่ก็อาจเป็นวิธีที่ไม่น่าสบายใจหรือดูก้าวร้าวเกินไปสำหรับใครหลายคน ในบางครั้ง วิธีนี้จะได้ผลดีกว่าเมื่อคุณรู้จักอย่างน้อยหนึ่งฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เราะฉะนั้นจงเข้าไปแทรงแซงเมื่อคุณรู้สึกปลอดภัยเท่านั้น

          - Distract (เบี่ยงเบนความสนใจ)

          เบี่ยงเบนความสนใจฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งด้วยบทสนทนาใหม่ คำถาม หรือกิจกรรม (เช่น “ขอโทษนะคะ/ครับ รบกวนช่วยบอกทางไปห้องน้ำที” หรือ “เรากำลังจะไปรับประทานอาหารกลางวันด้วยกัน ไปด้วยกันไหม?”) วิธีนี้จะให้ความรู้สึกสบาย ๆ มากกว่าวิธีแรก แต่ก็ใช้ได้ผลเช่นกัน

          - Delegate (หาผู้ช่วยเหลือ)

          มองหาคนที่สามารถช่วยเหลือได้ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนของคุณ เพื่อนของพวกเขา หรือใครก็ตามที่สะดวก เพราะการมีคนช่วยสนับสนุนจะทำให้คุณกล้ามากขึ้นที่จะเข้าไปแก้ไขสถานการณ์ คุณอาจลองของความช่วยเหลือด้วยการถามว่า “ผู้ผญิงคนนั้นดูไม่ค่อยสบายใจเท่าไหร่ คุณช่วยไปเบี่ยงเบนความสนใจจากผู้ชายที่กำลังคุยกับเธอได้ไหม? ฉันจะได้เข้าไปดูว่าเธอโอเคหรือเปล่า” หรือ “คุณรู้จักเขาไหม? ฉันว่าเขาต้องการความช่วยเหลือนะ”

          - Delay

          เข้าไปถามไถ่กับคนในเหตุการณ์ในภายหลัง เพราะในบางครั้งคุณก็อาจจะไม่สบายใจที่จะเข้าแทรกแซงสถานการณ์ สิ่งที่สามารถทำได้จึงเป็นการถามว่ามีอะไรที่คุณช่วยได้ไหม เช่น “คุณโอเคไหม? ฉันเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นเลยเข้ามาถาม” หรือ “มีอะไรที่ฉันสามารถทำเพื่อช่วยคุณออกจากสถานการณ์นี้ไหม?”

 

3. เป็นพันธมิตร ผู้สนับสนุน และนักเคลื่อนไหว

          ลองมองหาวิธีที่คุณสะดวกใจเพื่อสนับสนุนและเป็นเสียงให้กับผู้คนที่คุณห่วงใย โดยการ

เป็นพันธมิตร ผู้สนับสนุน และนักเคลื่อนไหวนั้นเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ทุกคน

          - การเป็นพันธมิตร คือการสนับสนุนกลุ่มทางสังคมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยเฉพาะกลุ่มชายขอบที่คุณไม่ได้เป็นสมาชิก

          - การสนับสนุน คือแรงสนับสนุนจากสาธารณะที่มีให้การเคลื่อนไหวทางสังคม

          - การเคลื่อนไหวทางสังคม คือการกระทำเพื่อความเปลี่ยนแปลงทางสังคมหรือการเมืองในรูปแบบของการรณรงค์ การประท้วง ฯลฯ

 

         HR องค์กรใด อยากบอกรักพนักงานแบบเกร๋ๆ เท่ๆ แนว HR ยุคใหม่ ที่ดูเเลแบบนั่งอยู่ในใจพนักงาน ลองติดต่อ Solution ปรึกษานักจิตวิทยาจาก Relationflip : Innovative Mental Healthcare Web Application ที่พร้อมช่วยพนักงานของคุณดีลกับปัญหาและเป็นที่ปรึกษาในทุกๆ เรื่องนะคะ Tel: 099-0026888 #InnovativeMentalHealthcare #MentalHealthcareService #Relationflip

Reference: https://onlinegrad.pepperdine.edu/blog/prejudice-discrimination-coping-skills/