บทความน่ารู้

ใครไม่แคร์ “OTHER-CARE”...รู้จักแคร์ผู้อื่น

          เคล็ดลับรับมือความโดดเดี่ยวช่วงกักตัวที่ดีกว่า “Self-care” ทำสมาธิ เล่นโยคะ อ่านหนังสือ มาส์กหน้า แช่น้ำอุ่น ฯลฯ เคล็ดลับดูแลตัวเองที่ชาว self-care ทำเพื่อช่วยให้รู้สึกดีขึ้นเมื่ออยู่ในระหว่างการกักตัว ที่อาจเกิดความรู้สึกเครียดหรือวิตกกังวลกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

          แม้ว่ากิจกรรมดูแลตัวเองเหล่านี้จะช่วยให้เรารู้สึกดีขึ้นได้จริง แต่คำถามคือ “การดูแลตัวเอง (self-care)” จะช่วยเยียวยาจิตใจเราได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือมันแค่ช่วยให้เรารู้สึกดีขึ้นแค่ประเดี๋ยวประด๋าวเท่านั้น?

          Laurie Santos ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาประจำมหาวิทยาลัยเยล (Yale University) ได้ตั้งคำถามในประเด็นนี้ไว้อย่างน่าสนใจว่า แม้ไอเดียการดูแลตัวเองด้วยตัวเองจะดีแค่ไหนก็ตาม แต่ความที่มนุษย์เป็นสัตว์สังคม และจำเป็นต้องมีสายสัมพันธ์กับผู้อื่นเพื่อให้รู้สึกถึงการเชื่อมต่อกับสังคมและป้องกันการรู้สึกโดดเดี่ยว การแบ่งเวลา self-care มาแคร์ผู้อื่นบ้างก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดีกับตัวเราอย่างยั่งยืนมากกว่า และ Johann Hari นักเขียนผู้เชี่ยวชาญประเด็นภาวะซึมเศร้าเจ้าของหนังสือขายดี “Lost Connections” ยังเสริมด้วยว่า ที่เราต้องแคร์คนอื่นก่อนตัวเอง ก็เพราะมนุษย์จำเป็นที่จะต้องรู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่ง การดูแลใส่ใจคนอื่นจะช่วยให้เรารู้สึกว่าชีวิตมีความหมายกับทั้งผู้อื่นและสังคม และนั่นจะช่วยทำให้เรารู้สึกว่าชีวิตของเรามีคุณค่านั่นเอง

          แต่ในช่วงเวลาของการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing) ที่ทำให้เราหลุดความรู้สึกเชื่อมโยงกับเพื่อนมนุษย์ไปได้ง่ายๆ อาจนำพาเราไปสู่ความรู้สึกโดดเดี่ยวมากขึ้น และความโดดเดี่ยวนี้เองที่สามารถส่งผลร้ายต่อสุขภาพเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ 15 ม้วนต่อวัน (จากงานวิจัย “Loneliness: A disease?” ตีพิมพ์ในวารสาร Indian Journal of Psychiatry)

          ดังนั้นแล้ว หากเราต้องการดูแลร่างกายและจิตใจของเราให้ดีที่สุดในช่วงที่ต้องกันตัวเองจากสังคมเช่นนี้ ก็ต้องอย่าลืมแบ่งเวลาดูแลตัวเอง (self-care) ไปใส่ใจผู้อื่นด้วย (other-care) นั่นอาจหมายความว่า ในขณะที่คุณกำลังมาส์กหน้าอยู่ ลองเจียดเวลาสักนิดโทรไปหาเพื่อนหรือครอบครัว ถามไถ่ถึงชีวิตในช่วงนี้ให้พวกเขารู้ว่ายังมีเรานะที่แคร์อยู่ การแสดงออกถึงความใส่ใจและพร้อมที่จะเป็นผู้ให้ในช่วงที่ทุกคนต่างก็อ่อนไหวแบบนี้ อาจช่วยเยียวยาจิตใจของเราได้ดีอย่างคาดไม่ถึงเลยทีเดียว! แต่หากตอนนี้คุณกำลังรู้สึกว่าดูแลใครไม่ไหว และอยากให้ใครมาดูแล อยากให้รู้ไว้ว่ายังมี Relationflip อยู่ตรงนี้ที่ยังแคร์คุณอยู่เสมอ! และไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรที่อยากให้เราใส่ใจ ลองมาปรึกษานักจิตวิทยาจาก Relationflip ได้ทุกเรื่องเลยนะคะ

 

          HR องค์กรใด อยากบอกรักพนักงานแบบเกร๋ๆ เท่ๆ แนว HR ยุคใหม่ ที่ดูเเลแบบนั่งอยู่ในใจพนักงาน ลองติดต่อ Solution ปรึกษานักจิตวิทยาจาก Relationflip : Innovative Mental Healthcare Web Application ที่พร้อมช่วยพนักงานของคุณดีลกับปัญหาและเป็นที่ปรึกษาในทุกๆ เรื่องนะคะ Tel: 099-0026888 #InnovativeMentalHealthcare #MentalHealthcareService #Relationflip

ที่มา: https://forge.medium.com/self-care-wont-cure-what-ails-you-d446ca231e67 https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3890922/