บทความน่ารู้

รู้หรือไม่…ความเครียดจากที่ทำงานสามารถกระทบความสัมพันธ์ได้

          สมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว (Work-life balance) คือการหาวิธีใช้ชีวิตโดยให้ความสำคัญกับงานและชีวิตส่วนตัว (เช่น สุขภาพ ความบันเทิง ครอบครัว และการพักผ่อน) ไปพร้อม ๆ กัน แม้ว่าภาพของ Work-life balance จะแตกต่างกันไปสำหรับแต่ละคน แต่การขาดมันไปก็อาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้ ในบางครั้งปัญหาในที่ทำงานก็ลามไปกระทบกับชีวิตในบ้านถึงแม้จะพยายามแยกมันออกจากกันก็ตาม ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้สามารถอธิบายได้ด้วยโมเดลว่าเกิดขึ้นเพราะอะไรและอย่างไร

          แต่ก่อนหน้านั้น ขอแนะนำให้รู้จักกับความขัดแย้งในบทบาทระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัว (Work-life conflict) ทั้ง 2 รูปแบบที่คุณอาจพบ ได้แก่:

1. ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเมื่องานส่งผลต่อครอบครัว (Work-family conflict)

          ความขัดแย้งประเภทนี้เกิดขึ้นเมื่อภาระหน้าที่ในที่ทำงานขัดขวางชีวิตครอบครัวเช่น การทำงานล่วงเวลาถึงดึกดื่นติดต่อกันเป็นเวลานานเพื่อทำโปรเจกต์ที่สำคัญแต่ต้องใช้เวลาอาจทำให้คุณไม่สามารถรับผิดชอบงานบ้านในส่วนของคุณได้ ความขัดแย้งประเภทนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดกับผู้ที่มีบุคลิกภาพ Type A (ทะเยอทะยาน มีระเบียบ พลังงานสูง ชอบแข่งขัน และใจร้อน), มีอารมณ์ความรู้สึกเชิงลบ, ได้รับความกดดันจากงาน, ต้องเสแสร้งมีความสุขแม้จะพบสถานการณ์ที่ยากลำบาก, มีตารางงานที่ไม่น่าพึงพอใจ หรือรู้สึกว่ามีงานท่วมท้น โดย Work-family conflict มีความเชื่อมโยงกับการปฏิบัติต่อกันอย่างเป็นปรปักษ์ระหว่างคู่รัก รวมไปถึงความพึงพอใจในชีวิตคู่และความพึงพอใจในชีวิตที่ลดลง

 

2. ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเมื่อครอบครัวส่งผลต่องาน (Family-work conflict)

          ความขัดแย้งประเภทนี้เกิดขึ้นเมื่อภาระหน้าที่ในบ้านแทรกแซงชีวิตการทำงาน เช่น เมื่อลูกของคุณไม่สบาย คุณจึงต้องขอลางานเพื่อไปรับลูกจากโรงเรียนอนุบาล กรณีนี้แสดงให้เห็นถึงการที่ภาระหน้าที่ของผู้ปกครองแทรกแซงภาระหน้าที่ของพนักงานบริษัทนั่นเอง

          โมเดล Spillover-Crossover

          ความขัดแย้งทั้ง 2 ประเภทอาจนำไปสู่การรั่วไหล (Spillover) และการลุกลามข้ามไป (Crossover) จากโมเดล Spillover-Crossover ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดย Drs. Arnold Bakker และ Evangelia Demerouti โดยโมเดลนี้เป็นอีกกรอบความคิดที่ใช้ศึกษาอิทธิพลที่ชีวิตด้านการทำงานและชีวิตส่วนตัวหรือครอบครัวมีต่อกัน และยังช่วยอธิบายว่าความเครียดในที่ทำงานแพร่ไปยังชีวิตที่บ้านและส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของคู่รักได้อย่างไร และเกิดขึ้นเพราะอะไร

          - การรั่วไหล (Spillover) เกิดขึ้นเมื่อคุณนำความเครียดในที่ทำงานกลับมาที่บ้าน และในท้ายที่สุดก็ต้องหยิบงานมาทำที่บ้านหรือเอาแต่กังวลและคิดวนเกี่ยวกับงานแม้ตอนอยู่ที่บ้าน การรั่วไหลเป็นประสบการณ์ส่วนบุคคล ซึ่งแก่นของมันคือการที่คุณไม่สามารถทิ้งงานไว้ในชีวิตการทำงาน แต่หยิบงานมาแทนที่สังคมรอบตัวหรือครอบครัวเมื่ออยู่นอกเหนือเวลางาน

          - การลุกลามข้ามไป (Crossover) เกิดขึ้นเมื่อความเครียดจากงานที่นำมาสู่ในบ้านเริ่มส่งผลกระทบต่อคนรักของคุณ กล่าวคือการที่ความเครียดจากงานของคุณ “ลุกลามข้ามไป” ยังอีกคนที่ไม่มีความเกี่ยวข้อง การลุกลามข้ามไปสามารถเกิดขึ้นได้ผ่านการแพร่อารมณ์เชิงลบหรือแม้กระทั่งภาวะหมดไฟ นักวิจัยยังค้นพบว่าการอยู่กับคนรักที่มีภาวะหมดไฟจะเพิ่มระดับความหมดไฟของคุณ จึงอาจกล่าวได้ว่าการลุกลามข้ามไปเป็นประสบการณ์ร่วมของคนสองคนนั่นเอง

          โมเดล Spillover-Crossover อธิบายว่าการรั่วไหลจะนำไปสู่การลุกลามข้ามไป เพราะการรั่วไหลจะเกิดขึ้นภายในคนคนหนึ่ง (เช่น เมื่อคุณรู้สึกเครียดกับงาน คุณอาจรู้สึกเครียดที่บ้านด้วยเช่นกัน) แต่การลุกลามข้ามไปจะส่งผลกระทบต่อคนมากกว่า 1 คน ในงานวิจัยเกี่ยวกับการรั่วไหลและการลุกลามข้ามไปในผู้ปกครองที่หารายได้ทั้งสองฝ่าย Dr. Demerouti และทีมวิจัยได้ค้นพบว่าภาระหน้าที่ส่งผลกระทบต่อความพึงพอใจในชีวิต ซึ่งสามารถอธิบายได้ด้วย Work-family conflict (ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเมื่องานส่งผลต่อครอบครัว) กล่าวคือยิ่งมีภาระหน้าที่มาก Work-family conflict ก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความพึงพอใจในชีวิตในท้ายที่สุด

          เป็นเรื่องที่โชคดีที่โมเดล Spillover-Crossover เกิดขึ้นในด้านบวกมากพอ ๆ กับที่เกิดขึ้นในด้านลบ กล่าวคือมันไม่ได้เกี่ยวกับการนำความเครียดในที่ทำงานกลับมาที่บ้านและสร้างภาระให้กับคู่ชีวิต แต่ประสบการณ์ที่ดีในที่ทำงาน (เช่น ความพึงพอใจในงาน) ก็สามารถรั่วไหลมาถึงความพึงพอใจที่บ้าน ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของคนรักในเชิงบวกไปอีกทอดหนึ่ง นอกเหนือจากความพึงพอใจก็ยังรวมไปถึงคุณภาพชีวิต อิสระแห่งตน (Autonomy) การสนับสนุนทางสังคม ความผูกพันที่มีต่องาน และความกระปรี้กระเปร่าอีกด้วย

          อาจกล่าวได้ว่าโมเดลนี้แสดงให้เห็นว่าด้านที่ดีของงานก็สามารถมีอิทธิพลที่ดีต่อชีวิตครอบครัวและคนรักของคุณเช่นกัน แต่สิ่งสำคัญก็คือการตระหนักว่าโมเดลนี้ยังมีอีกด้านหนึ่ง และด้านที่ไม่ดีของงานก็สามารถส่งผลร้ายต่อชีวิตของคุณและผู้คนรอบตัวคุณได้เช่นกัน

 

         HR องค์กรใด อยากบอกรักพนักงานแบบเกร๋ๆ เท่ๆ แนว HR ยุคใหม่ ที่ดูเเลแบบนั่งอยู่ในใจพนักงาน ลองติดต่อ Solution ปรึกษานักจิตวิทยาจาก Relationflip : Innovative Mental Healthcare Web Application ที่พร้อมช่วยพนักงานของคุณดีลกับปัญหาและเป็นที่ปรึกษาในทุกๆ เรื่องนะคะ Tel: 099-0026888 #InnovativeMentalHealthcare #MentalHealthcareService #Relationflip

 

Reference: https://www.psychologytoday.com/intl/blog/conscious-communication/201803/why-work-stress-is-bad-for-your-relationships