บทความน่ารู้

จะรู้ได้อย่างไร…ว่าเรามีความฉลาดทางสังคมมากแค่ไหน?

          ในขณะที่ “ความฉลาด” เป็นปัจจัยที่นักจิตวิทยาได้ทำการศึกษาอย่างแพร่หลายตลอดศตวรรษที่ผ่านมา ความสนใจในเรื่อง Social Intelligence หรือ “ความฉลาดทางสังคม” กลับน้อยกว่าจนน่าใจหาย ในปีค.ศ. 1920 นักจิตวิทยานาม Edward Thorndike ได้นิยามความฉลาดทางสังคมว่าเป็นความสามารถในการเข้าใจและบริหารจัดการ(ผู้คน)...และประพฤติตนอย่างชาญฉลาดในความสัมพันธ์กับผู้อื่น

 

ความฉลาดทางสังคมคืออะไร แตกต่างจาก IQ และ EQ อย่างไร?

          ทุกรูปแบบของความฉลาด ไม่ว่าจะเป็นความฉลาดทั่วไป (ที่มักถูกเรียกว่าเป็นความฉลาดด้านการศึกษา) หรือความฉลาดทางอารมณ์ ก็ทำให้มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความฉลาดหลายด้าน ในขณะที่ความฉลาดทั่วไปซึ่งถูกวัดด้วย IQ คือความสามารถในการคิดวิเคราะห์และใช้เหตุผล ความฉลาดทางอารมณ์คือความเข้าใจในอารมณ์ ความสามารถในการอ่านข้อความที่แฝงในอารมณ์ของผู้อื่น และความสามารถในการควบคุมอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง

          ในอีกทางหนึ่ง ความฉลาดทางสังคมคือความเข้าใจในสถานการณ์ทางสังคม และความสามารถในการประพฤติตนอย่างมีประสิทธิภาพในฐานะสมาชิกของสังคม ความฉลาดทางสังคมอาจถูกเรียกด้วยชื่อที่แตกต่างกันไป เช่น สมรรถนะทางสังคม (Social competence) ทักษะสังคม หรือสามัญสำนึกในสถานการณ์ทางสังคม เมื่อเทียบกับความฉลาดรูปแบบอื่น ๆ ความฉลาดทางสังคมถือเป็นรูปแบบที่พัฒนาตั้งแต่แรกเริ่มผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและการเรียนรู้ที่จะจัดการสภาพแวดล้อมทางสังคม

 

อะไรคือตัวชี้วัดว่าบุคคลผู้หนึ่งมีความฉลาดทางสังคม

          อันดับแรก ผู้ที่มีความฉลาดทางสังคมมีความชำนาญในการถ่ายทอดด้วยคำพูด พวกเขาเป็นผู้พูดที่ดีและผู้สื่อสารที่เก่งกาจ และยังเป็นผู้ปราดเปรื่องที่เป็นผู้ฟังที่ดีและสามารถที่จะอ่านสถานการณ์ทางสังคมที่แตกต่างกันออก

          พวกเขาเหล่านี้มีสิ่งที่เรียกว่า “savoir-faire” หรือการรู้จักกาลเทศะ การรู้ว่าอะไรควรทำตอนไหนหรือไม่ควรทำตอนไหน และประพฤติตนได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์ ผู้ที่มีความฉลาดทางสังคมในระดับสูงมีแนวโน้มที่จะมีเครือข่ายทางสังคมที่กว้างกว่า ประกอบไปด้วยทั้งเพื่อนและคนรู้จัก พวกเขาจึงสามารถทำหน้าที่ตัวแทนขายได้ดี และมักจะมีตำแหน่งเป็นผู้นำ นอกจากนี้ ผู้ที่มีความฉลาดทางสังคมยังมักจะสร้างความประทับใจแรกที่ดีต่อผู้อื่นอีกด้วย

 

การประเมินความฉลาดทางสังคม

          แม้เราจะสามารถสังเกตได้ว่าผู้ใดที่มีความฉลาดทางสังคมสูง (ผู้คนที่เป็น “คนของประชาชน” หรือผู้คนที่ทำได้ดีอย่างโดดเด่นในการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม) แต่การวัดความฉลาดทางสังคมมักจะใช้วิธีการรายงานด้วยตัวผู้ให้ข้อมูลเอง

          ตัวอย่างต่อไปนี้ถูกดึงมาจากแบบประเมินที่ใช้ทดสอบองค์ประกอบต่าง ๆ ของความฉลาดทางสังคม ซึ่งการ “เห็นด้วย” กับตัวอย่างเหล่านี้สามารถบ่งชี้ถึงความฉลาดทางสังคมระดับสูง

- เมื่ออยู่ในการสนทนาแบบโต้ตอบ ฉันมักจะพบว่าตัวเองพูดมากกว่าคนอื่น ๆ

- ฉันมักจะเริ่มแนะนำตัวเองกับคนแปลกหน้าก่อน

- ในงานปาร์ตี้ ฉันสนุกไปกับการพูดคุยกับผู้คนจำนวนมาก

          ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นตัวชี้วัดมิติ “การแสดงออกทางสังคม” ของความฉลาดทางสังคม

- ในระหว่างที่ฉันเติบโตขึ้น ผู้ปกครองของฉันเคร่งครัดในเรื่องของความสำคัญของการมีมารยาทที่ดีเสมอ

- ฉันพิจารณาถึงความประทับใจที่ฉันจะมีต่อผู้อื่นเสมอ

- ฉันสนุกไปกับการตามหาสิ่งที่ทำให้ผู้อื่น “คลิก”

          ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นตัวชี้วัดมิติ “ความไวในการรับรู้ทางสังคม” ซึ่งเป็นความสามารถในการอ่านผู้อื่นและสถานการณ์ทางสังคม

- ฉันรู้สึกสบายใจกับผู้คนทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะอ่อนเยาว์หรือแก่ชรา ร่ำรวยหรือยากจน

- ฉันมักจะพบว่าตัวเองเป็นโฆษกประจำกลุ่ม

- ฉันสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์สังคมต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย

          การ “เห็นด้วย” กับตัวอย่างเหล่านี้บ่งชี้ว่าบุคคลนั้นมีทักษะการแสดงบทบาทสมมติที่ทำให้สามารถเข้ากับสถานการณ์ทางสังคมอันประกอบไปด้วยผู้คนที่หลากหลาย

          ความฉลาดทางสังคมเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะมันเกี่ยวเนื่องกับการประสบความสำเร็จในด้านการเข้าสังคม และยังเป็นสิ่งที่สำคัญในวิชาชีพและตำแหน่งผู้นำอีกด้วย

 

         HR องค์กรใด อยากบอกรักพนักงานแบบเกร๋ๆ เท่ๆ แนว HR ยุคใหม่ ที่ดูเเลแบบนั่งอยู่ในใจพนักงาน ลองติดต่อ Solution ปรึกษานักจิตวิทยาจาก Relationflip : Innovative Mental Healthcare Web Application ที่พร้อมช่วยพนักงานของคุณดีลกับปัญหาและเป็นที่ปรึกษาในทุกๆ เรื่องนะคะ Tel: 099-0026888 #InnovativeMentalHealthcare #MentalHealthcareService #Relationflip

Reference: https://www.psychologytoday.com/us/blog/cutting-edge-leadership/202310/how-to-measure-your-social-intelligence