บทความน่ารู้

คู่มือ Active Listening ฉบับเข้าใจง่าย

          ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารองค์กร ผู้ให้คำปรึกษาคู่สมรส รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านอื่น ๆ อีกมากมายมักจะแนะนำให้เราฝึกฝน “Active Listening” เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับคู่ครอง บุตรหลาน หัวหน้า หรือใครก็ตามที่เรามีปฏิสัมพันธ์ด้วย แต่ “Active Listening” ที่ว่านี้คืออะไรกันแน่? และเราจะสามารถพัฒนาทักษะนี้ได้อย่างไร?

          Active Listening หรือการฟังเชิงรุก คือการที่ผู้ฟังตั้งใจจดจ่อในสิ่งที่อีกฝ่ายพูดอย่างเต็มที่ เพื่อทำความเข้าใจประเด็นของคำพูดนั้นโดยไม่ตัดสิน และสามารถตอบกลับไปด้วยคำตอบที่คิดอย่างถี่ถ้วน ซึ่งทักษะนี้จะช่วยให้เราสามารถจดจำรายละเอียดของการสนทนาได้เป็นอย่างดี

 

ทักษะการฟังเชิงรุกประกอบด้วยอวัจนภาษา วัจนภาษา และกลยุทธ์ดังนี้:

อวัจนภาษา

- แสดงออกว่าสนใจในสิ่งที่อีกฝ่ายพูด

- สบตาในขณะที่อีกฝ่ายพูด

- นั่งหันหน้าเข้าหาอีกฝ่าย

- นั่งยืดหลังตรงแบบไม่เกร็ง

- ผงกหัวเป็นระยะเพื่อแสดงให้เห็นว่ากำลังตั้งใจฟัง

- พยายามสงวนท่าทีการแสดงออกและความรู้สึก แล้วค่อยแสดงออกเมื่อฟังอีกฝ่ายจบ

- ควบคุมการแสดงออกทางสีหน้าของตน เพื่อระวังไม่ให้สื่อความรู้สึกไม่เห็นด้วย ความรำคาญใจ หรืออารมณ์เชิงลบออกไปจนกว่าจะฟังอีกฝ่ายจบ (สามารถแสดงออกมาได้ในภายหลัง)

 

วัจนภาษา

- ถามคำถาม:

     - เพื่อซักถามเพื่อความชัดเจน และเพื่อแสดงให้เห็นว่าเรากำลังพยายามเพื่อเข้าใจอย่างแท้จริง

     - เพื่อสรุปความเข้าใจ (ฉันเข้าใจว่าคุณพูดว่า…ถูกต้องไหม?)

- ไม่ควรเปลี่ยนเรื่องหรือชวนคุยออกนอกเรื่อง

- จดจ่อรับฟังคำพูดของอีกฝ่าย (ไม่ต้องรีบร้อนแย่งอีกฝ่ายพูด เพราะอย่างไรเราก็จะได้พูดหลังจากนั้น)

- สรุปประเด็นสำคัญที่อีกฝ่ายได้พูดมา

 

กลยุทธ์

- มีสมาธิกับบทสนทนา และให้ความสนใจกับผู้พูดอย่างเต็มที่ (ผู้ฟังมักจะเผลอหยุดฟังไปกลางคันและเริ่มคิดสิ่งที่ตัวเองจะตอบกลับไปแทน ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรระวัง)

- จินตนาการว่าเราเป็นผู้สัมภาษณ์หรือผู้สื่อข่าวที่ต้องการได้รับข้อมูลอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง

- สังเกตอวัจนภาษาและการแสดงออกทางสีหน้าของผู้พูด พยายามเข้าใจทั้งเนื้อความและลักษณะการพูดของอีกฝ่าย และสังเกตอารมณ์ที่เขากำลังรู้สึก แสดงออกมา หรือพยายามจะปกปิด

          การฟังเชิงรุกไม่ใช่ทักษะที่ง่าย แต่ก็เป็นทักษะที่สร้างขึ้นได้จากการฝึกฝนและการใช้ความพยายามอย่างหนัก โดยประโยชน์ของการเป็นผู้ฟังที่ดีไม่ได้มีเพียงแค่การพัฒนาทักษะการสื่อสาร แต่ยังช่วยให้สามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น และยังเป็นหลักสำคัญของการช่วยเหลือผู้อื่นอีกด้วย

 

         HR องค์กรใด อยากบอกรักพนักงานแบบเกร๋ๆ เท่ๆ แนว HR ยุคใหม่ ที่ดูเเลแบบนั่งอยู่ในใจพนักงาน ลองติดต่อ Solution ปรึกษานักจิตวิทยาจาก Relationflip : Innovative Mental Healthcare Web Application ที่พร้อมช่วยพนักงานของคุณดีลกับปัญหาและเป็นที่ปรึกษาในทุกๆ เรื่องนะคะ Tel: 099-0026888 #InnovativeMentalHealthcare #MentalHealthcareService #Relationflip

Reference: https://www.psychologytoday.com/us/blog/cutting-edge-leadership/201909/straightforward-and-simple-guide-active-listening