บทความน่ารู้

2 Steps to Continually Improve Your Conversations

          หากคุณต้องการผลลัพธ์ที่ดีจากการสนทนาทั้งต่อหน้าและผ่านจอ 2 ขั้นตอนที่คุณควรปฏิบัติตามได้แก่ “การเตรียมตัว” และ “การสะท้อนคิดเพื่อติดตามผล” เพราะไม่ว่าคุณจะคิดว่าการสนทนาจะเป็นไปอย่างราบรื่นหรือไม่ ทั้ง 2 ขั้นตอนก็จะสามารถช่วยให้คุณสามารถบรรลุเป้าหมายจากการสนทนาแต่ละครั้ง

การเตรียมพร้อมด้านความตั้งใจ

          คุณควรที่จะต้องมี 2 ความตั้งใจในใจ ความตั้งใจแรกเกี่ยวกับการบรรลุเป้าหมาย และความตั้งใจที่สองเกี่ยวกับสิ่งที่คุณอยากให้ผู้คนรู้สึก

 

ความตั้งใจเกี่ยวกับเป้าหมาย

          คุณควรจะมีผลลัพธ์ที่หวังไว้ในใจจากการปฏิสัมพันธ์กับใครสักคน ซึ่งผลลัพธ์นั้นสามารถอ้างอิงขึ้นมาจากเป้าหมายที่เป็นรูปร่างของคุณ นอกจากนี้ คุณยังควรพิจารณาถึงผลลัพธ์ที่คู่สนทนาของคุณต้องการด้วย

          จงอธิบายว่าอะไรคือสิ่งที่คุณคิดว่าเป็นผลลัพธ์ที่คู่สนทนาของคุณต้องการอย่างชัดเจนและจริงใจ เพื่อที่จะทำให้พวกเขารับรู้ว่าคุณเข้าใจและเคารพในความต้องการของพวกเขา และแจ้งให้พวกเขาทราบว่าคุณมีเจตนาที่จะหาวิธีทำงานร่วมกันเพื่อให้พวกเขามั่นใจว่าคุณพบวิธีที่จะก้าวเดินต่อไปด้วยกัน สิ่งสำคัญคือการที่อีกฝ่ายจะต้องรู้สึกว่าคุณให้ความสำคัญกับความต้องการของพวกเขาอย่างแท้จริง ไม่เช่นนั้นแล้ว พวกเขาอาจจะสันนิษฐานว่าคุณเพียงอยากใช้ให้พวกเขาทำอะไรสักอย่าง

          หลังจากนั้น คุณจึงสามารถแบ่งปันผลลัพธ์ที่คุณต้องการบ้าง หากวิธีการที่คุณต้องการสอดคล้องกับของคู่สนทนา ให้อธิบายว่าคุณอยากร่วมมือเพื่อสนับสนุนความต้องการของอีกฝ่ายอย่างไร แต่ถ้าเป้าหมายของคุณแตกต่างออกไป ให้บอกพวกเขาว่าอะไรคือสิ่งที่คุณเต็มใจที่จะต่อรองอย่างไรเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับประโยชน์

          คุณอาจลองถามอีกครั้งเพื่อยืนยันว่าเข้าใจในสิ่งที่อีกฝ่ายต้องการถูกต้อง เพื่อที่จะมั่นใจว่าการผสมผสานผลลัพธ์ที่ทั้งสองฝ่ายต้องการเกิดขึ้นจากข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายยินยอม ซึ่งข้อตกลงนี้จะช่วยให้สามารถสร้างแผนการได้ง่ายยิ่งขึ้น

 

ความตั้งใจเกี่ยวกับคู่สนทนา

          คุณควรรู้ว่าตัวเองอยากให้อีกฝ่ายรู้สึกอย่างไรระหว่างสนทนาและหลังการสนทนาจบลง ไม่ว่าคุรจะอยากให้พวกเขารู้สึกสงสัย สบายใจ มั่นใจ ใจเย็น หรือมีความหวัง คุณก็ควรที่จะตั้งใจรู้สึกแบบเดียวกันระหว่างการเตรียมใจก่อนคุย ดังนั้น ให้ลองเลือก 2 อารมณ์ที่คุณอยากให้อีกฝ่ายรู้สึกก่อนที่คุณจะเข้าร่วมการสนทนา พูด 2 คำนั้นออกมาให้จำขึ้นใจ จนกว่าจะรู้สึกถึงอารมณ์เหล่านั้นในตัวเอง

          หากคุณรู้สึกรำคาญใจหรือกังวลใจขึ้นมาระหว่างการสนทนา ให้สูดหายใจเข้า เตือนตัวเองถึง 2 อารมณ์ที่คุณเลือกที่จะรู้สึก และเตือนตัวเองว่าความสัมพันธ์นี่เป็นสิ่งที่คุณให้คุณค่าก่อนตอบอีกฝ่ายออกไป โดยการแสดงพฤติกรรมและอารมณ์ที่คุณต้องการเป็นตัวอย่างให้อีกฝ่ายถือเป็นหนึ่งในเรื่องสำคัญที่ควรทำ

          จงตระหนักรู้ในอารมณ์ของตัวเองเมื่อคุณถามคำถามออกไป เมื่อคุณถามอีกฝ่ายว่าพวกเขามองความท้าทายนั้นอย่างไร และอะไรคือวิธีการที่พวกเขาพิจารณาใช้ ให้ถามออกไปด้วยความสงสัยใคร่รู้ ไม่ใช่ด้วยความรู้สึกอยากจับผิดพวกเขา เพราะถ้าเจตนาของคุณคือการทำให้พวกเขาเห็นถึงรูโหว่ในความคิดของตัวเอง พวกเขาก็จะมองว่าคุณกำลังทำให้พวกเขาเป็นฝ่ายผิด และอาจแสดงอาการต่อต้านหรือปิดใจในที่สุด

          เพราะฉะนั้นจึงควรถามคำถามด้วยเจตนาที่จะเข้าใจความคิดของคู่สนทนาที่มีต่อสถานการณ์นั้น และเข้าใจว่าประสบการณ์ของพวกเขามีส่วนช่วยให้พวกเขาคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในลำดับถัดไปอย่างไร คำถามของคุณควรที่จะกระตุ้นให้พวกเขาพิจารณาถึงความมีเหตุผลและความเกี่ยวข้องของความคิดของตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องแสดงการวิเคราะห์ของคุณออกมา การพยายามเข้าใจความคิดของพวกเขาอาจทำให้พวกเขาเปิดใจที่จะเข้าใจมุมมองของคุณเช่นกัน ซึ่งจะนำไปสู่การร่วมมือกันในท้ายที่สุด

          แม้กระทั่งคำถามประเภท “ทำไม” ก็สามารถสร้างการต่อยอดความคิดได้ถ้าคุณถามออกไปด้วยความสงสัยใคร่รู้อย่างกระตือรือร้น ลองถามว่า “ทำไมคุณจึงคิดว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้น/จะเกิดขึ้น” แทนที่จะถามว่า “ทำไมคุณจึงทำเช่นนั้น”

          เพียงแค่ใช้เวลาเล็กน้อยเพื่อเตรียมพร้อมจิตใจของคุณก่อนปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นก็สามารถช่วยให้การสะท้อนคิดเพื่อติดตามผลที่กว้างขวางขึ้นได้ เพราะเมื่อคุณเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงสิ่งที่คุณอยากบรรลุด้วยกันและถึงความรู้สึกที่คุณอยากให้อีกฝ่ายรู้สึก คุณก็จะสามารถอยู่ในการควบคุมของตัวเองตลอดทั้งการสนทนา และสามารถปล่อยให้ความคิดเห็นต่าง ๆ พรั่งพรูออกมาได้อย่างเต็มที่

 

การสะท้อนคิดเพื่อติดตามผล

          John Dewey นักปฏิรูปการศึกษาเคยกล่าวเอาไว้ว่า “เราไม่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ แต่เราเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดประสบการณ์” การสะท้อนคิดมักจะเกิดขึ้นเมื่อเหตุการณ์นั้นผ่านไปหลายวัน หลายเดือน หรือหลายปี แต่คุณสามารถย่นระยะเวลาของกระบวนการนี้ได้ด้วยการกำหนดเวลาแห่งการรสะท้อนคิดไม่นานหลังบทสนทนาหรือประสบการณ์นั้นจบลง

          จงต่อต้านความต้องการในการทำสิ่งต่าง ๆ หลังเหตุการณ์นั้นจบลง เพราะไม่อย่างนั้นคุณจะลืมรายละเอียดไปเสียหมด และเมื่อคุณพยายามที่จะนึกถึงเหตุการณ์นั้นในภายหลัง ความทรงจำของคุณก็จะถูกบิดเบือนโดยอารมณ์และสภาพแวดล้อม ณ ตอนนั้น รวมถึงประสบการณ์ที่คุณมีหลังเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น

          ดังนั้น เพื่อที่จะเรียนรู้จากประสบการณ์ใดก็ตาม สิ่งที่คุณควรทำคือการใช้เวลาสั้น ๆ เพื่อตอบคำถามเหล่านี้ให้เร็วที่สุดหลังเหตุการณ์นั้นได้จบลง:  

1. คุณได้รับสิ่งที่ต้องการจากประสบการณ์นี้หรือเปล่า

2. อะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ได้รับจากประสบการณ์นี้

3. อะไรคือสิ่งที่ออกมาดี

4. อะไรคือสิ่งที่ควรจะต้องเกิดขึ้นต่อไป

5. อะไรคือสิ่งที่คุณเรียนรู้และจะช่วยเหลือคุณในอนาคต

          ไม่ว่าคุณจะคาดการณ์ถึงความขัดแย้งไว้มากถึงเพียงใด การเตรียมใจเรื่องความตั้งใจของตัวเองและใช้เวลาเพื่อสะท้อนคิดสิ่งที่เกิดขึ้นจะช่วยให้สามารถปฏิสัมพันธ์กับอีกฝ่ายได้ไหลลื่นยิ่งขึ้นในอนาคต โดยประโยชน์ของ 2 ขั้นตอนนี้ไม่ได้มีเพียงการบรรลุเป้าหมายที่น่าพึงพอใจ แต่ยังรวมถึงการทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับคู่สนทนาแข็งแกร่งขึ้นอีกด้วย

 

         HR องค์กรใด อยากบอกรักพนักงานแบบเกร๋ๆ เท่ๆ แนว HR ยุคใหม่ ที่ดูเเลแบบนั่งอยู่ในใจพนักงาน ลองติดต่อ Solution ปรึกษานักจิตวิทยาจาก Relationflip : Innovative Mental Healthcare Web Application ที่พร้อมช่วยพนักงานของคุณดีลกับปัญหาและเป็นที่ปรึกษาในทุกๆ เรื่องนะคะ Tel: 099-0026888 #InnovativeMentalHealthcare #MentalHealthcareService #Relationflip

Reference: https://www.psychologytoday.com/us/blog/wander-woman/202304/2-steps-to-continually-improve-your-conversations