บทความน่ารู้

Recognizing Workaholism: The Dark Side of Productivity

          เมื่อวันที่ 1 มกราคมเวียนมาบรรจบ ใครหลายคนต่างก็ตั้งปณิธานว่าจะเลิกนิสัยแย่ ๆ ของตัวเอง และสาบานตนว่าจะลดสุรา บุหรี่ ของหวาน โซเชียมีเดีย หรือสิ่งบันเทิงใจต่าง ๆ แต่จะมีสักกี่คนเชียวที่ตั้งมั่นว่าจะทำงานให้หักโหมน้อยลง?

          María-José Serrano-Fernández และทีมวิจัยได้ทำการศึกษาอาการเสพติดการทำงาน (Workaholism) และแนวโน้มของมันในการบ่งชี้อาการวิตกกังวลและซึมเศร้า พวกเขายอมรับว่านิสัยการทำงานของพนักงานสามารถส่งผลต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต และภาระงานสามารถนำไปสู่ผลเสียทางสุขภาพได้ เช่น อาการวิตกกังวล อาการซึมเศร้า และความเครียด นักวิจัยยังได้ค้นพบว่าความรู้สึกที่เกิดจากงานและงานที่หนักหนาเกินไปเป็นตัวบ่งชี้อาการวิตกกังวลและซึมเศร้าอีกด้วย

          เราสามารถจินตนาการผลร้ายของอาการเสพติดการทำงานได้ไม่ยาก ยกตัวอย่างเช่นปัญหาสุขภาพ การขาดงานเป็นประจำ และการเลิกทำงานเกินหน้าที่ โดยไม่ได้มีแรงใจในการทำงานอื่น ๆ แต่แท้จริงแล้วคำถามที่ควรถามมากกว่านั้นคืออาการเสพติดการทำงานพัฒนาขึ้นมาจากสาเหตุใด โดยผลวิจัยสามารถอธิบายคำตอบของคำถามข้อนี้ได้เป็นอย่างดี

 

          ตัวขับเคลื่อนอาการเสพติดการทำงาน

          Serrano-Fernández และทีมวิจัยได้ให้คำนิยามผู้ที่มีอาการเสพติดการทำงานว่าเป็น “ผู้ที่ใช้เวลาไปกับการทำงานมากเกินไปจนส่งผลเสียต่อการพัฒนาด้านสังคม ครอบครัว และการพักผ่อนหย่อนใจ” พวกเขายังเสริมว่าบุคคลเหล่านี้มักจะมีความคาดหวังต่อตัวเองในด้านการทำงานสูงกว่าระดับงานที่จำเป็นต้องทำ และใช้พลังงานไปกับการทำงานมากเกินความจำเป็น ส่งผลให้เกิดระบบความคิดที่เอาแต่คิดเรื่องงานแม้กระทั่งตอนที่ไม่ได้ทำงานอยู่

          ผลวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมเช่นนี้มักจะทำให้พลังงานร่อยหรอ แม้กระทั่งในคนที่ชอบงานของเขาก็ตาม ด้วยเหตุนั้น ผู้ที่มีอาการเสพติดการทำงานจึงมักรายงานระดับพลังงาน ความสุข ความมีส่วนร่วมในการทำงานที่น้อยกว่าปกติ และรายงานความกังวล อาการซึมเศร้า และความเหนื่อยระดับสูง

          ในส่วนของกลไกของอาการเสพติดการทำงานที่นำไปสู่อาการซึมเศร้าและกังวล นักวิจัยได้เสริมว่าผู้ที่มีนิสัยขี้กังวลจะใช้เวลาและความพยายามมากกว่าปกติในการทำงานให้สำเร็จ และการทำงานอย่างเกินความจำเป็นอาจจะทำหน้าที่เป็นกลไกการหลบหนีที่มีความเชื่อมโยงกับอาการซึมเศร้าและกังวล เพราะผู้ที่มีนิสัยขี้กังวลจะกลัวความล้มเหลวและอาจตรวจตรางานของตัวเองซ้ำ ๆ และปฏิเสธงานอื่น ๆ ที่เข้ามาเพื่อป้องกันงานที่ล้นหลามเกินรับมือ ในขณะที่ผู้ที่มีอาการซึมเศร้าหรือเป็นทุกข์ทำงานช้ากว่าเพราะพลังงานต่ำ ส่งผลให้ต้องทำงานล่วงเวลาเพื่อทำงานนั้นให้เสร็จ

          เราสามารถมองความอ่อนล้าเป็นผลลัพธ์ของวันทำงานที่ยาวนานและไม่สำราญใจ แต่ก็อาจจะเป็นผลจากตารางงานตามแบบแผนที่พนักงานได้รับความกดดันให้บรรลุเป้าหมายภายในเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งมักจะออกมาในรูปแบบของการทำงานเกินเวลาที่บริษัทกำหนดไว้ เป็นต้น

 

          ทางออกคือการผสานงานและชีวิตส่วนตัว

          การค้นพบเรื่องสำคัญจากงานวิจัย คือ พนักงานที่ทำงานเป็นระยะเวลานานแต่รู้สึกสนุกไปกับงานมีแนวโน้มที่จะทรมานไปกับผลกระทบเชิงลบของความเครียดที่มาจากการทำงานน้อยกว่า เมื่อพิจารณาว่าคนส่วนมากทำงานเพื่ออยู่รอดมากกว่าอยู่รอดเพื่อทำงาน การมองหาทางสายกลางจึงถูกมองว่าเป็นการ “ผสาน” ของงานและชีวิตส่วนตัวมากกว่าการ “รักษาสมดุล” ที่บอกเป็นนัยว่ามีโอกาสที่สมดุลนั้นจะร่องหล่นลงได้

          การสร้างขอบเขตและจัดการความคาดหวังด้านการทำงานสามารถทำได้ด้วยการจัดสรรเวลาผ่านสมุดวางแผนรายวัน ปฏิทิน หรือวิธีอื่น ๆ ที่จะช่วยปกป้องเวลาส่วนตัว อย่าตระหนี่ในการใช้เงินมากเกินไป ใช้เวลาไปกับกิจกรรมที่ชอบ และจัดหาเวลาเพื่อฉลองความสำเร็จของตัวเองกับครอบครัว เพื่อน และคนสำคัญในชีวิต กล่าวได้ว่าคำแนะนำเหล่านี้จะช่วยให้สามารถผสานงานและชีวิตส่วนตัวได้ดียิ่งขึ้น

 

 

         HR องค์กรใด อยากบอกรักพนักงานแบบเกร๋ๆ เท่ๆ แนว HR ยุคใหม่ ที่ดูเเลแบบนั่งอยู่ในใจพนักงาน ลองติดต่อ Solution ปรึกษานักจิตวิทยาจาก Relationflip : Innovative Mental Healthcare Web Application ที่พร้อมช่วยพนักงานของคุณดีลกับปัญหาและเป็นที่ปรึกษาในทุกๆ เรื่องนะคะ Tel: 099-0026888 #InnovativeMentalHealthcare #MentalHealthcareService #Relationflip

Reference: https://www.psychologytoday.com/us/blog/why-bad-looks-good/202311/recognizing-workaholism-the-dark-side-of-productivity