บทความน่ารู้

ทำความรู้จักความฉลาดทางอารมณ์

          ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) ที่มักถูกเรียกว่า EQ (Emotional quotient) หรือ IQ ประเภทอารมณ์ เป็นความฉลาดประเภทที่ได้รับการนิยามว่าเป็นทักษะในการควบคุมและจัดการอารมณ์ความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น และใช้อารมณ์ในการถ่ายทอดความคิดและการกระทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มิติของความฉลาดทางอารมณ์

- การรับรู้อารมณ์: ความสามารถในการบอกชื่อและจำแนกอารมณ์และความรู้สึกต่าง ๆ

- การใช้อารมณ์เพื่อส่งเสริมการคิด: ความสามารถในการใช้อารมณ์ต่าง ๆ เพื่อบ่มเพาะการใช้เหตุผล การแก้ไขปัญหา และการสื่อสารระหว่างบุคคล

- การเข้าใจและวิเคราะห์อารมณ์: ความสามารถในการเข้าใจสาเหตุและความหมายของอารมณ์ต่าง ๆ

- การควบคุมอารมณ์ผ่านการไตร่ตรอง: ความสามารถในการป้องกัน เพิ่มพูน หรือเปลี่ยนแปลงอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น

 

ทักษะที่เป็นรากฐานของความฉลาดทางอารมณ์

          ดังเช่นความฉลาดประเภทอื่น ๆ ความฉลาดทางอารมณ์สามารถพัฒนาขึ้นได้ด้วยการเสริมสร้างทักษะทางอารมณ์และเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ที่จะช่วยให้เข้าใจและรับมือกับอารมณ์ของตัวเองและผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น

          ทักษะต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของทักษะที่ควรเสริมสร้างเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์:

          - การคิดแง่บวก

          - ความยืดหยุ่น

          - ความเข้าอกเข้าใจ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา

          - ​​​​​​​ความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณต่อสิ่งต่างๆ ในชีวิต

          - ​​​​​​​ความสามารถในการปรับเปลี่ยนมุมมอง

          - ​​​​​​​การกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม

          - ​​​​​​​การแสดงออกทางอารมณ์

          - ​​​​​​​การควบคุมอารมณ์

 

วิธีพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

          กิจกรรมใดก็ตามที่ช่วยสร้างทักษะทางอารมณ์จะสามารถเพิ่มความฉลาดทางอารมณ์ได้เช่นกัน

          ตัวอย่างของกิจกรรมขั้นต้นมีดังนี้:

          - ​​​​​​​กิจกรรม “รู้จุดแข็งของตัวเอง”: ค้นพบจุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเองเพื่อสามารถพัฒนาจุดอ่อนและลงทุนกับจุดแข็ง

          - ​​​​​​​กิจกรรม “ลิสต์แห่งความรู้สึกขอบคุณ”: คิดถึงสิ่งที่รู้สึกซาบซึ้งขอบคุณและเขียนลงไปเป็นข้อ ๆ

          - ​​​​​​​กิจกรรม “นั่งสมาธิ”: ฝึกการตระหนักรู้และการยอมรับผ่านการนั่งสมาธิ

          - ​​​​​​​กิจกรรม “จดหมายถึงตัวเอง”: เขียนจดหมายถึงตัวเองด้วยความเห็นอกเห็นใจ ซึ่งเป็นการดูแลใจของตัวเอง ไม่ตำหนิติเตียนตัวเองเมื่อได้ทำอะไรผิดพลาดไป

          - ​​​​​​​กิจกรรม “ความทรงจำที่ดี”: เสริมสร้างความสามารถของสมองในการประมวลความทรงจำและข้อมูลเชิงบวก

 

นอกจากนี้ ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาตนเองใน 4 ด้านต่อไปนี้เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์อย่างต่อเนื่อง:

1. การตระหนักรู้ในตนเอง

          - ​​​​​​​ถามตัวเองว่าทำไมจึงทำในสิ่งที่กำลังทำอยู่

          - ​​​​​​​ทบทวนคุณค่าที่ตัวเองยึดถือเพื่อที่จะเข้าใจเบื้องหลังของการกระทำของตน

          - ​​​​​​​ชัดเจนกับอารมณ์ของตัวเองเพื่อเข้าใจอารมณ์ที่รู้สึกและสาเหตุที่รู้สึกเช่นนั้น

2. การจัดการตนเอง

          - ​​​​​​​ปิดตาลงและหายใจเข้าลึก ๆ สักพักเพื่ออยู่กับปัจจุบัน

          - ​​​​​​​ปรับมุมมองในการมองสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อลองหาสิ่งที่ดีที่แอบซ่อนอยู่

          - ​​​​​​​ใช้เวลาในการแก้ไขปัญหาชีวิตที่ซับซ้อนและตามหาทางออกที่ใช่สำหรับตัวเอง

          - ​​​​​​​ดูแลรักษาร่างกายและสุขภาพ

3. การตระหนักรู้ทางสังคมและวัฒนธรรม

          - ​​​​​​​ใส่ใจกับการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของตัวเองมากขึ้น

          - ​​​​​​​ฝึกการมีความเข้าอกเข้าใจและความเห็นอกเห็นใจเพื่อเข้าใจว่าทำไมผู้อื่นจึงทำสิ่งที่แตกต่างจากตัวเอง

          - ​​​​​​​มีคำถามที่สามารถใช้เพื่อเริ่มบทสนทนาหรือช่วยหลีกเลี่ยงความกระอักกระอ่วน

4. การจัดการดูแลความสัมพันธ์

          - ​​​​​​​ฝึกซาบซึ้งและขอบคุณในสิ่งเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต

          - ​​​​​​​แสดงอารมณ์ออกมาด้วยการบอกออกไปเมื่อรู้สึกขอบคุณ ห่วงใย ชื่นชม หรือรู้สึกดีกับผู้อื่น

          - ​​​​​​​อธิบายการตัดสินใจของตัวเอง และรับฟังเหตุผลของการตัดสินใจของผู้อื่น

 

ประโยชน์ของความฉลาดทางอารมณ์

          ​​ความฉลาดทางอารมณ์มีความเกี่ยวข้องกับผลลัพธ์เชิงบวกที่สำคัญมากมาย เช่น:

          - ​​​​​​​สุขภาพจิตที่ดีขึ้น

          - ​​​​​​​ความสัมพันธ์ทางสังคมที่ดีขึ้น

          - ​​​​​​​ความสำเร็จทางการศึกษาและในที่ทำงาน

 

         HR องค์กรใด อยากบอกรักพนักงานแบบเกร๋ๆ เท่ๆ แนว HR ยุคใหม่ ที่ดูเเลแบบนั่งอยู่ในใจพนักงาน ลองติดต่อ Solution ปรึกษานักจิตวิทยาจาก Relationflip : Innovative Mental Healthcare Web Application ที่พร้อมช่วยพนักงานของคุณดีลกับปัญหาและเป็นที่ปรึกษาในทุกๆ เรื่องนะคะ Tel: 099-0026888 #InnovativeMentalHealthcare #MentalHealthcareService #Relationflip

Reference: https://www.psychologytoday.com/intl/blog/click-here-for-happiness/202011/emotional-intelligence-and-how-to-increase-it