บทความน่ารู้

เมื่อความกังวลปรากฎในรูปแบบของความโกรธ

ความกลัวและความโกรธ

          เรามักจะมองความกลัวและความโกรธเป็น 2 อารมณ์ที่แยกจากกัน ความกลัวอาจดูเหมือนลูกหมาที่กำลังสั่นกลัวและเตรียมพร้อมจะวิ่งหนี ในขณะที่ความโกรธเป็นเหมือนหมีตัวใหญ่ที่เตรียมพุ่งเข้าใส่คนที่มายุ่งกับลูกของเธอ จะเห็นได้จากตัวอย่างว่าเมื่อเรานึกถึง 2 อารมณ์นี้ เราจะนึกถึงอากัปกิริยาที่แตกต่างกัน

          แต่ความกลัวและความโกรธก็มีความคล้ายคลึงกันอยู่ เพราะทั้งคู่เป็นอารมณ์ที่กระตุ้นสัญชาตญาณเอาชีวิตรอดผ่านทางระบบร่างกายที่เชื่อมต่อกับสมองเมื่อพบภัยคุกคาม ซึ่งจะทำให้ร่างกายของเราพร้อมที่จะต่อสู้หรือวิ่งหนีจากภัยนั้น

          นอกจากนี้ ความกลัวและความโกรธยังมีสรีรวิทยาร่วมกันที่อะมิกดาลา (Amygdala) ซึ่งเป็นโครงสร้างของสมองที่มีรูปร่างคล้ายเมล็ดอัลมอนด์ สมองส่วนอะมิกดาลาจะตอบสนองต่อความกลัวและความโกรธด้วยการทำงานที่เพิ่มขึ้น จึงสามารถกล่าวได้ว่าสัญชาตญาณเอาชีวิตรอดเป็นองค์ประกอบทางกายภาพนั่นเอง

          อารมณ์ทั้ง 2 มีโอกาสมาเจอกันในช่วงเวลาที่เกิดความเครียด เราอาจเริ่มด้วยการรู้สึกโกรธแล้วเปลี่ยนไปรู้สึกกลัวในภายหลัง หรือที่พบบ่อยกว่านั้นคือการเปลี่ยนจากความกลัวเป็นความโกรธ ซึ่งอาการนอนไม่หลับไม่เพียงพอเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้เหตุการณ์ที่เต็มไปความกังวลใจนี้เกิดขึ้น ด้วยการนอนไม่หลับไม่เพียงพอมีส่วนเกี่ยวข้องกับการที่สมองส่วนอะมิกดาลาถูกกระตุ้นมากเกิน

 

ความกังวลและความหงุดหงิด

          ความกังวลสามารถถูกมองเป็นความกลัวระดับเบา เช่นเดียวกับที่ความหงุดหงิดถูกมองเป็นความโกรธระดับเบาเช่นกัน ทั้งสองมีความเกี่ยวข้องกันในเชิงจิตวิทยา เช่น อาการหงุดหงิดระดับรุนแรงเป็นหนึ่งในอาการที่พบได้ในโรควิตกจริต

          ในขณะที่ความกลัวและความกังวลในรูปแบบต่าง ๆ จะแสดงถึงความเข้าอกเข้าใจ ความหงุดหงิดกลับกลายเป็นการแสดงความไม่พอใจต่อคนรอบข้าง เราจึงสามารถรู้สึกโกรธที่ตัวเองรู้สึกหงุดหงิดได้ เพราะผู้คนส่วนมากไม่รู้ว่าความหงุดหงิดก็เกี่ยวข้องกับความกังวล จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการสั่งสมอารมณ์ที่ทำให้รู้สึกเจ็บปวด

 

เราสามารถทำอย่างไรได้บ้าง

          สำหรับการจัดการระยะสั้น การดูแลตัวเองผ่านการนอนหลับและการกินให้เพียงพอ การจัดการความเครียดอย่างมีประสิทธิภาพ และการออกกำลังกายก็เพียงพอต่อการจัดการความกังวลและความหงุดหงิดที่เกิดขึ้นคู่กัน ถึงแม้ว่าการโทษตัวเองเมื่อรู้สึกกังวลและหงุดหงิดจะเป็นเรื่องที่เรารู้สึกอยากทำ แต่การใจดีกับตัวเองต่างหากที่เป็นก้าวแรกของการจัดการอารมณ์เหล่านั้น เพราะเมื่อเราพบพื้นที่สบายใจ เราก็จะหลุดพ้นจากวงจรแห่งความเครียดที่เลือกระหว่างต่อสู้หรือหนีนั่นเอง

          โดยสรุปแล้ว ความกลัวและความโกรธเป็นอารมณ์ที่คล้ายคลึงกันเป็นอย่างมาก และในทางเดียวกันความกังวลมักปรากฏในรูปแบบของความหงุดหงิด เราสามารถจัดการอารมณ์เหล่านี้ได้ด้วยการดูแลตัวเอง แต่เมื่อมันเริ่มรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นปัญหา การปรึกษานักจิตวิทยาก็เป็นทางออกที่สามารถช่วยเหลือได้

 

 

         HR องค์กรใด อยากบอกรักพนักงานแบบเกร๋ๆ เท่ๆ แนว HR ยุคใหม่ ที่ดูเเลแบบนั่งอยู่ในใจพนักงาน ลองติดต่อ Solution ปรึกษานักจิตวิทยาจาก Relationflip : Innovative Mental Healthcare Web Application ที่พร้อมช่วยพนักงานของคุณดีลกับปัญหาและเป็นที่ปรึกษาในทุกๆ เรื่องนะคะ Tel: 099-0026888 #InnovativeMentalHealthcare #MentalHealthcareService #Relationflip

Reference: https://www.psychologytoday.com/us/blog/beyond-mental-health/202311/when-anxiety-shows-up-as-anger