บทความน่ารู้

จิตวิทยาแห่งการสร้างแบรนด์บุคคล (Personal Branding)

           ในยุคโลกาภิวัตน์ที่เชื่อมต่อผู้คนทั้งโลกเข้าด้วยกัน การสร้างแบรนด์บุคคล (Personal Branding) ได้กลายเป็นเครื่องมืออันทรงพลังในการสร้างอัตลักษณ์ส่วนตัว สร้างความแตกต่างให้สามารถแยกออกจากผู้อื่น รวมถึงสร้างความประทับใจที่ดีไว้ประดับตัวเรา แม้การสร้างแบรนด์บุคคลจะฟังดูเหมือนกลยุทธ์ทางการตลาด แต่รากฐานของมันฝังรากลึกอยู่ในศาสตร์ทางจิตวิทยาอันซับซ้อน บทความนี้จะพาไปสำรวจจิตวิทยาที่อยู่เบื้องหลังการสร้างแบรนด์บุคคล โดยเน้นย้ำคำถามที่ว่ามุมมองเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงและส่งอิทธิพลต่อมุมมองและวิธีที่ปู้อื่นปฏิสัมพันธ์กับเราอย่างไร

 

หน้าที่ของมุมมองในฐานะเครื่องกรอง

           มุมมองทำหน้าที่เป็นเครื่องกรองขั้นพื้นฐานซึ่งมีส่วนช่วยในการตีความและเข้าใจสิ่งรอบข้างของเรา หากพูดถึงการสร้างแบรนด์บุคคลแล้ว เครื่องกรองนี้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดมุมมองของผู้อื่นที่มีต่อเรา ผู้คนจะสร้างความประทับใจที่มีต่อผู้อื่นขั้นมาจากสัญญาณที่หลากหลาย เช่น ลักษณะภายนอก พฤติกรรม รูปแบบการสื่อสาร และตัวตนบนโลกออนไลน์ของเรา ความประทับใจเหล่านี้ (ทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ) สามารถส่งผลกระทบต่อวิธีที่ผู้อื่นปฏิสัมพันธ์และตอบสนองต่อเรา

 

ความคงเส้นคงวาและความน่าเชื่อถือ

           ความคงเส้นคงวาเป็นหลักสำคัญของการสร้างแบรนด์บุคคล เพราะการวางภาพลักษณ์รูปแบบเดียวกันในทุกแพลตฟอร์มและทุกการปฏิสัมพันธ์จะช่วยก่อร่างความเชื่อใจและความน่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม หากมีความคงเส้นคงวาอย่างเดียวก็คงไม่พอ เพราะความน่าเชื่อถือก็มีความสำคัญเท่าเทียมกัน ผู้คนต่างช่ำชองในการตรวจจับความไม่น่าเชื่อถือของบุคคล และความไม่สอดคล้องระหว่างแบรนด์บุคคลที่ถูกสร้างขึ้นกับตัวตนที่แท้จริงสามารถนำไปสู่มุมมองเชิงลบได้ ดังนั้น การวางให้คุณค่าที่ยึดมั่น (Values) ความเชื่อ การกระทำ และแบรนด์บุคคลที่ต้องการสร้างไปในทิศทางเดียวกันเป็นส่วนสำคัญในการคงความน่าเชื่อถือเอาไว้

 

หลุมพรางทางความคิด (Cognitive Biases)

           มนุษย์เรามักจะตกเป็นเหยื่อของหลุมพรางทางความคิด (ความเอนเอียงหรือข้อบกพร่องในการตัดสินใจอันเกิดจากความจริงที่สร้างขึ้นมาเอง) ซึ่งสามารถส่งผลต่อวิธีที่เรามองและตัดสินผู้อื่น อย่างไรก็ตาม แบรนด์บุคคลสามารถเพื่มอิทธิพลที่ความเอนเอียงเหล่านี้มีต่อมุมมองได้ เช่น Halo effect จะเกิดขึ้นเมื่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์บุคคลบดบังคุณลักษณะไม่พึงประสงค์ไปทั้งหมด ในทำนองเดียวกัน Confirmation bias จะชักจูงให้ค้นหาข้อมูลที่ตรงกับมุมมองของเราเพื่อเป็นสิ่งยืนยันว่ามุมมองของเรา (ในเรื่องของแบรนด์บุคคล) เป็นเรื่องที่ถูกต้อง

 

Social Proof

           ในโลกที่ขับเคลื่อนด้วยโซเชียลมีเดียและการปฏิสัมพันธ์บนโลกออนไลน์ Social proof (ปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาที่ทำให้คนเราเชื่อความคิดเห็นของผู้คนในสังคม) มีบทบาทสำคัญในการสร้างแบรนด์บุคคล เรามักจะมองไปยังผู้อื่นเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าจะตัดสินคนผู้นั้นอย่างไร อินฟลูเอนเซอร์เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ดีที่แสดงให้เห็นถึงพลังของ Social proof เมื่อบุคคลที่มีอิทธิพลต่อความคิดและความเห็นของผู้อื่นสร้างแบรนด์บุคคลขึ้นมา มันจะเป็นปัจจัยสำคัญที่บ่งชี้ว่าผู้คนจะมีมุมมองต่อบุคคลนั้นและจะเข้าหาเขาในรูปแบบไหน การใช้ประโยชน์จาก Social proof อย่างมีประสิทธิภาพสามารถปรับเปลี่ยนข้อเท็จจริงได้ด้วยการโน้มน้าวส่งอิทธิพลต่อมุมมองของผู้อื่นนั่นเอง

 

Self-Fulfilling Prophecy (ปรากฏการณ์ความคาดหวังสร้างความจริง)

           จิตวิทยาแห่งการสร้างแบรนด์บุคคลไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่เพียงมุมมองที่ผู้อื่นมีต่อเรา แต่ยังส่งผลกระทบต่อมุมมองที่เรามีต่อตนเองและพฤติกรรมของเราอีกด้วย ปรากฏการณ์ทางจิตวิทยานี้ชี้ให้เห็นว่าความเชื่อและความคาดหวังที่เรามีต่อตนเองสามารถชักจูงการกระทำของเราและปรับเปลี่ยนข้อเท็จจริงที่เราเชื่อในที่สุด เมื่อเราตั้งใจพัฒนาและทำให้แบรนด์บุคคลของเราเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น เราก็จะสามารถประพฤติตนให้สอดคล้องกับแบรนด์บุคคลมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างข้อเท็จจริงที่เราคาดหวังเอาไว้นั่นเอง

 

การสร้างและการบริหารจัดการมุมมอง

           การสร้างแบรนด์บุคคลจำเป็นที่จะต้องมีความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการมุมมองจากภายใน ซึ่งรวมไปถึงการเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย การสร้างเรื่องราวที่กระตุ้นความสนใจ และการทำตามคำสัญญาที่ให้ไว้ภายใต้แบรนด์บุคคล การควบคุมและรับเอาข้อเสนอแนะมาใช้ก็เป็นสิ่งสำคัญในทำให้มั่นใจว่ามุมมองที่ผู้อื่นมีต่อเราจะสองคล้องกับสิ่งที่เราอยากนำเสนอ ในยุคที่โซเชียลมีเดียมีอิทธิพลอย่างมากในชีวิตของผู้คน การสร้างแบรนด์บุคคลได้กลายเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น ในขณะเดียวกันการควบคุมมันก็กลายเป็นสิ่งที่ท้าทายมากกว่าเดิม ดังนั้น การเข้าใจปัจจัยทางจิตวิทยาที่อยู่เบื้องหลังจะช่วยผลักดันให้สามารถสร้างและนำเสนอแบรนด์บุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

 

 

         HR องค์กรใด อยากบอกรักพนักงานแบบเกร๋ๆ เท่ๆ แนว HR ยุคใหม่ ที่ดูเเลแบบนั่งอยู่ในใจพนักงาน ลองติดต่อ Solution ปรึกษานักจิตวิทยาจาก Relationflip : Innovative Mental Healthcare Web Application ที่พร้อมช่วยพนักงานของคุณดีลกับปัญหาและเป็นที่ปรึกษาในทุกๆ เรื่องนะคะ Tel: 099-0026888 #InnovativeMentalHealthcare #MentalHealthcareService #Relationflip

Reference: https://www.linkedin.com/pulse/psychology-personal-branding-how-perception-shapes-raj-singhania