บทความน่ารู้

หัวใจของการคิดเชิงวิพากษ์

          ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical thinking) เป็นทักษะอันล้ำค่าที่เป็นที่ต้องการอันดับต้น ๆ ในตลาดแรงงาน ด้วยเพราะผู้ที่มีทักษะนี้ไม่ได้ตามหากันง่าย ๆ เพราะการคิดเชิงวิพากษ์เป็นเรื่องที่ยากมากกว่าที่คิดเสียอีก

หากให้อธิบายแล้ว ผู้ที่มีความคิดเชิงวิพากษ์…

- จะไม่ด่วนสรุปสิ่งใด แต่จะค่อย ๆ ใช้เวลาเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ที่หลากหลายและไม่ยึดติดกับมุมมองใดมุมมองหนึ่ง

- จะไม่ยึดติดกับวิธีเดียว เพราะพวกเขารู้ว่าวิธีแก้ปัญหาส่วนมากมักไม่ใช่วิธีถาวร เพราะจะต้องมีการปรับปรุงเมื่อมีข้อมูลใหม่ ๆ เข้ามา

- มักจะแยกแยะระหว่างแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและไม่น่าเชื่อถือเป็นนิสัย พิจารณาน้ำหนักของมุมมองที่แตกต่าง และใช้เหตุผลเชิงตรรกะ

- รับฟังความเห็นของผู้อื่น แต่ก็ไม่ปล่อยข้อมูลเหล่านั้นทำให้เอนเอียงเมื่อต้องตัดสิน

3 องค์ประกอบหลักของการคิดเชิงวิพากษ์

      1. Proactive Learning (การเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ)

      แน่นอนว่ายิ่งเรียนรู้มากเท่าใด เราก็จะยิ่งรู้มากเท่านั้น แต่งานวิจัยยังได้ออกมาเผยว่าการเรียนรู้ยังช่วยเสริมสร้างความแข็งเกร่งของจิตใจ เพราะฉะนั้นถ้าหากเราไม่เรียนรู้อยู่ตลอด จิตใจของเราก็จะอ่อนแอลง และไม่ว่าเราจะฉลาดเฉลียวมากเพียงใด เราก็อาจสูญเสียความฉลาดนั้นไปหากไม่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา

      วิธีการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของจิตใจก็เหมือนกับการเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย ซึ่งคือการบริหารจิตใจอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ข้อมูลใหม่ ๆ ฝึกฝนเทคนิคต่าง ๆ และคิดวิเคราะห์มุมมองที่แตกต่างกัน:

      - ความรู้ที่สั่งสม คือผลลัพธ์ของการเรียนรู้ข้อมูลที่ดี

      - ทักษะที่สั่งสม คือผลลัพธ์ของการฝึกฝนเทคนิคที่ดี

      - ภูมิปัญญาที่สั่งสม คือผลลัพธ์ของคิดวิเคราะห์มุมมองที่ดีที่แตกต่างกัน

      เทคนิคที่ดีในที่นี้ หมายถึงการเปิดใจรับสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งคือการไม่ติดสิน การตั้งคำถามกับข้อสันนิษฐาน และการขวนขวายหาข้อมูล เทคนิค และมุมมองใหม่ ๆ ที่ดีอยู่ตลอด

      2. Problem-Solving (การแก้ไขปัญหา)

      ในโลกปัจจุบันที่เต็มไปด้วยข้อมูล คำตอบของคำถามมากมายก็อยู่เพียงที่ปลายนิ้ว คนส่วนมากจึงมักไม่ได้สนใจที่จะคิดอย่างจริงจังสักเท่าไหร่นัก แต่ด้วยประสบการณ์ที่ไม่เพียงพอก็อาจทำให้พบเจอปัญหาที่ไม่คาดคิดได้

      อย่างไรก็ตาม ปกติแล้วเราไม่จำเป็นต้องตัดสินใจเรื่องที่สำคัญ เพราะการพึ่งพาองค์กรที่สั่งสมประสบการณ์มามากมายเป็นทางเลือกที่ดีกว่า อย่างเช่นการใช้ทางออกสูตรสำเร็จที่เป็นทางออกที่ดีที่สุดที่ผ่านการพิจารณามาแล้ว จนได้กลายเป็นกระบวนการมาตรฐานที่ถูกบังคับใช้ในองค์กร ตัวอย่างของสูตรสำเร็จพื้นฐานคือ checklist ง่าย ๆ เช่นนี้:

      - ถ้าสถานการณ์ A เกิดขึ้น ให้ปฏิบัติตามแผน B

      - ถ้าสถานการณ์ C เกิดขึ้น ให้ปฏิบัติตามแผน D

      - ถ้าสถานการณ์ E เกิดขึ้น ให้ปฏิบัติตามแผน F

      หากสามารถฝึกฝนสิ่งเหล่านี้จนชำนาญ เราก็จะสามารถแก้ไขปัญหาที่คาดการณ์เอาไว้ว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี และยังสามารถรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดได้ดีขึ้นอีกด้วย 

      3. Decision-Making (การตัดสินใจ)

      การตัดสินใจไม่เหมือนกับการใช้พลังสมองอย่างเต็มที่ สมรรถภาพของจิตใจ หรือปัญญาตามธรรมชาติ ไม่ใช่การสั่งสมความรู้หรือจดจำข้อมูล แต่เกี่ยวข้องกับความชำนาญในด้านเทคนิคและเครื่องมือที่มีอยู่มากกว่า

      การตัดสินใจที่ดีคือการคาดการณ์ผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้น (หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล) เพื่อมองเห็นภาพของผลที่จะตามมาเมื่อเกิดเหตุการณ์หนึ่งแทนอีกเหตุการณ์หรือเมื่อกระทำสิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่ง ซึ่งกลับกลายเป็นว่าเรียนรู้จากอดีตเป็นทางเดียวที่จะพัฒนาความสามารถที่ช่วยในการคาดการณ์อนาคตได้

      อย่างไรก็ดี ประสบการณ์เพียงอย่างเดียวก็ไม่เพียงพอสำหรับการตัดสินใจที่ดี เพราะหัวใจหลักของการเรียนรู้จากประสบการณ์คือการตั้งใจกลั่นกรองบทเรียนออกมาจากประสบการณ์นั้น ๆ และเมื่อเราเริ่มมองเห็นรูปแบบของเหตุและผลที่เกิดขึ้น เราก็จะสามารถคิดอย่างรอบคอบเกี่ยวกับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้สามารถตัดสินใจได้ดีขึ้นนั่นเอง

 

         HR องค์กรใด อยากบอกรักพนักงานแบบเกร๋ๆ เท่ๆ แนว HR ยุคใหม่ ที่ดูเเลแบบนั่งอยู่ในใจพนักงาน ลองติดต่อ Solution ปรึกษานักจิตวิทยาจาก Relationflip : Innovative Mental Healthcare Web Application ที่พร้อมช่วยพนักงานของคุณดีลกับปัญหาและเป็นที่ปรึกษาในทุกๆ เรื่องนะคะ Tel: 099-0026888 #InnovativeMentalHealthcare #MentalHealthcareService #Relationflip

Reference: https://www.psychologytoday.com/intl/blog/navigating-the-new-workplace/202303/master-the-3-basics-of-critical-thinking