บทความน่ารู้

8 เคล็ดลับสำหรับการเรียนรู้ทักษะใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ

          การเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ เป็นวิธีลับคมสมองอันยอดเยี่ยม และยังช่วยให้สามารถสร้างตัวเองในรูปแบบใหม่ด้วยความชำนาญใหม่ ๆ ที่เราค้นพบ แม้การเรียนรู้ทักษะใหม่อาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่แนวทางปฏิบัติเหล่านี้อาจช่วยคุณได้:

 

1. สร้างเป้าหมายการเรียนรู้ขึ้นมา

          การมีเป้าหมายที่ชัดเจนก่อนเริ่มต้นเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะการมีคำตอบว่าเรากำลังพยายามไปเพื่อสิ่งใดจะทำให้ความพยายามนั้นมีความหมายยิ่งขึ้น แน่นอนว่าเป้าหมายที่ไม่กว้างเกินไปและถูกนิยามอย่างชัดเจนนั้นดีกว่าเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้กว้าง ๆ และเต็มไปด้วยปริศนา เพราะเป้าหมายที่มองแล้วเห็นความเป็นไปได้จะช่วยกระตุ้นแรงจูงใจให้สูงขึ้น

 

2. เริ่มจากก้าวเล็ก ๆ

          เริ่มด้วยการแยกทักษะออกเป็นส่วนเล็ก ๆ และเรียนรู้ทีละส่วนให้ชำนาญจนสามารถทำได้โดยอัตโนมัติ เพราะเป้าหมายเล็ก ๆ ซึ่งสามารถทำสำเร็จได้ง่ายกว่าเป็นตัวเพิ่มแรงจูงใจที่ดี นอกจากนี้ การเริ่มจากก้าวเล็ก ๆ ยังทำให้ทักษะนั้นดูง่ายเมื่อเริ่มเรียนอีกด้วย

 

3. อย่าลืมว่าเราทำสิ่งนี้เพื่ออะไร

          การปกป้องเป้าหมายสำคัญไม่ให้เป้าหมายอื่น ๆ เข้ามารบกวนใจระหว่างทางเป็นเรื่องที่สำคัญ หนึ่งในวิธีที่สามารถทำได้คือการย้ำเตือนตัวเองถึงความสำคัญของเป้าหมายหลักของเรา เพราะอุปสรรคอย่าง

“ความสงสัยในตัวเอง” และ “การสื่อสารกับตนเองเชิงลบ” (เช่น จะเริ่มต้นเพื่ออะไรในเมื่อรู้อยู่แก้ใจว่าจะไม่มีวันทำได้ดี มันสายเกินไปที่จะลงมือทำแล้วรึเปล่า ฯลฯ) สามารถกีดขวางไม่ให้เราเริ่มต้นไล่ตามเป้าหมาย การย้ำเตือนจึงจะทำให้เราไม่ลืมว่าเรากำลังเรียนรู้ทักษะใหม่เพื่อพัฒนาตนเอง นอกจากนี้ยังช่วยเปลี่ยนวิธีคิดหรือวิธีมองโลกอีกด้วย (เช่น การเรียนดนตรีจะทำให้เราฟังเพลงได้ไม่เหมือนเก่าด้วยความรู้ที่เพิ่มมา)

 

4. พลังแห่งแรงจูงใจภายใน

          ไม่ว่าจะทำอะไร จงลงมือทำเพราะเรารักสิ่งนั้น เพราะหลักสำคัญคือการสร้างแรงจูงใจจากภายในซึ่งคือความต้องการที่จะทำอะไรสักอย่างเพื่อตัวเอง ความรู้สึกพึงพอใจที่เกิดขึ้นจึงเกิดจากการกระทำแทนที่จะเป็นการบรรลุเป้าหมาย ตัวอย่างของกิจกรรมที่มักถูกทำในต่อไปเรื่อย ๆ เพราะความสนุกที่เกิดขึ้น เช่น การเล่นดนตรี การทำงานศิลปะ การอ่านหนังสือ การสะสมของเก่า และการเล่นกีฬา เป็นต้น

 

5. สร้างภาพในหัวขึ้นมา

          การสร้างภาพในหัวว่าเราควรจะทำอะไรบ้างจะช่วยให้เราสามารถควบคุมกระบวนการของการฝึกซ้อมและการลงมือจริง ยกตัวอย่างเช่น ในการเล่นดนตรี การคิดว่าบทเพลงหนึ่งควรถูกเล่นออกมาอย่างไรจะช่วยให้นักดนตรีสามารถเลียนแบบเสียงในความคิดนั้นเมื่อเล่นจริง นักดนตรีที่ถนัดการสร้างภาพในหัวยังสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดของตัวเองในการซ้อมได้ดีอีกด้วย

 

6. ฝึกใช้ความคิด

          การฝึกใช้ความคิดหมายถึงการวางแผนที่มีจุดประสงค์ชัดเจน รู้ทิศทางที่จะต้องไป และรู้ว่าจะไปถึงจุดหมายได้อย่างไร ซึ่งการตั้งใจลงมือทำนี้จะต้องกระทำไปอย่างไม่รีบร้อน สาเหตุเป็นเพราะข้อมูลใหม่ ๆ จะต้องถูกเรียนรู้อย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อทำให้ดูง่ายลง และการเร่งเรียนรู้ก็ไม่ได้ช่วยให้สามารถแสดงผลงานที่ดีกว่าเดิม อย่าลืมว่าการใช้ตัวเลือกที่ไม่ได้ดีที่สุดก็จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ไม่ได้ดีที่สุดเช่นกัน

 

7. มีกรอบความคิดแบบพัฒนาได้ (Growth Mindset)

          กรอบความคิดแบบพัฒนาได้ (Growth Mindset) สื่อถึงความเชื่อที่ว่าความสามารถของเราสามารถพัฒนาขึ้นได้ด้วยการพยายามฝึกฝน แค่เพราะเราไม่ได้ทำอะไรได้ดีในทันที ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่มีวันทำมันได้ดีเลย เพราะเราล้วนแต่เริ่มด้วยฝีมือที่ไม่เคยขัดเกลา ก่อนที่เราจะสามารถทำมันได้ดีขึ้นผ่านการฝึกฝนนั่นเอง

 

8. จุดแข็งของการเป็นผู้เรียนวัยผู้ใหญ่

          เมื่อเรากลายเป็นผู้ใหญ่ เราจะมีโอกาสได้ถอยหลังมาก้าวหนึ่งเพื่อที่จะมองภาพรวมมากขึ้น ถึงแม้ว่าเราจะมีแนวโน้มในการลืมรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ เร็วกว่าเมื่อก่อน แต่เราก็มีจุดแข็งในการมองขาดว่าอะไรคือประเด็นหลักของเรื่องนั้น ไม่เหมือนกับผู้เรียนวัยเยาว์ที่แม้จะสามารถเรียนรู้ทักษะใหม่ได้อย่างรวดเร็วแต่กลับมีปัญหาในเรื่องของการมองภาพรวมและความใจเย็น

 

          ข้อแนะนำสุดท้าย คือการรักษาจิตใจของเราให้เฉียบแหลมเมื่ออายุเพิ่มขึ้นเพื่อเผชิญหน้ากับความท้าทายใหม่ ๆ เพราะผู้ที่รักษาสถานะผู้เรียนรู้ไปได้ตลอดทั้งชีวิตมีแนวโน้มที่จะรู้สึกพึงพอใจจากการพัฒนาทักษะและศักยภาพของตนเองไปได้อย่างไม่สิ้นสุด

 

 

         HR องค์กรใด อยากบอกรักพนักงานแบบเกร๋ๆ เท่ๆ แนว HR ยุคใหม่ ที่ดูเเลแบบนั่งอยู่ในใจพนักงาน ลองติดต่อ Solution ปรึกษานักจิตวิทยาจาก Relationflip : Innovative Mental Healthcare Web Application ที่พร้อมช่วยพนักงานของคุณดีลกับปัญหาและเป็นที่ปรึกษาในทุกๆ เรื่องนะคะ Tel: 099-0026888 #InnovativeMentalHealthcare #MentalHealthcareService #Relationflip

Reference: https://www.psychologytoday.com/intl/blog/science-of-choice/202311/8-tips-for-learning-a-new-skill-effectively