บทความน่ารู้

คู่มือการฟังอย่างเข้าใจและใส่ใจ (Empathic listening)

          การฟังอย่างเข้าใจและใส่ใจ (Empathic listening) คือประเภทของการฟังที่ผสมผสานทักษะการฟังเชิงรุก (Active Listening) การสะท้อนความรู้สึก เทคนิคการใช้คำถาม และทักษะการเข้าใจความคิดและอารมณ์ของอีกฝ่าย การเป็นผู้ฟังที่เข้าใจและใส่ใจจะต้องแสดงถึงความเอาใจใส่และเห็นอกเห็นใจอย่างแท้จริง เมื่อผู้พูดแสดงความเห็นหรือความรู้สึก การสนับสนุนอีกฝ่ายในฐานะผู้ฟังไม่เพียงทำให้ผู้พูดรู้สึกถูกยอมรับ แต่ยังช่วยให้ผู้ฟังสามารถตอบสนองออกไปอย่างจริงใจได้อีกด้วย

          Steven Covey นักจิตวิทยาได้กล่าวเอาไว้ว่า การฟังอย่างเข้าใจและใส่ใจจะเกิดขึ้นเมื่อเราฟังด้วยหู ด้วยตา และด้วยใจ เป็นการฟังเพื่อรับรู้ถึงความรู้สึกและความหมายที่มี เป็นการฟังเพื่อรับรู้ถึงพฤติกรรมของผู้พูด เป็นการใช้ทั้งสมองซีกขวาและซีกซ้าย และเป็นการเปิดประสาททั้งห้า การหยั่งรู้ และการรู้สึกถึงอีกฝ่าย”

          หากไร้การฟังอย่างเข้าใจและใส่ใจ ก็เปรียบเสมือนว่าเราได้ทำการตัดการเชื่อมต่อทางอารมณ์กับอีกฝ่าย และอาจเป็นการเมินเฉยต่ออารมณ์ความรู้สึกของอีกฝ่ายไปโดยไม่ตั้งใจ ดังนั้น การฟังอย่างเข้าใจและใส่ใจจึงเป็นสิ่งสำคัญในการสานสัมพันธ์กับผู้อื่น การให้เกียรติคู่สนทนา และการสร้างความสัมพันธ์ที่ใช้การสื่อสารเพื่อแก้ไขปัญหาบนพื้นฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจกัน

 

การฟังอย่างเข้าใจและใส่ใจ ทำอย่างไร?

          - เปิดหูพร้อมรับฟังเมื่อเริ่มบทสนทนา

          - กำจัดสิ่งที่รบกวนสมาธิ (เช่น โทรศัพท์มือถือ เพลงที่กำลังเปิดฟัง)

          - ฟังด้วยหูและใจ

          - ฟังโดยไม่ตัดสิน

          - หลีกเลี่ยงการรบกวนหรือพูดแทรกอีกฝ่าย

          - แสดงอวัจนภาษาที่เหมาะสมเพื่อส่งสัญญาณว่าเข้าใจในสิ่งที่อีกฝ่ายพูด (เช่น ผงกหัว)

          - ปล่อยให้อีกฝ่ายเป็นผู้นำบทสนทนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีจังหวะที่เงียบลงหรือมีเวลาให้พวกเขาได้คิด

          - รอจนกว่าจะถึงตาของเราแล้วค่อยพูด

          - พูดออกไปด้วยโทนเสียงที่ให้กำลังใจอีกฝ่าย

          - ถามคำถามปลายเปิดเพื่อเข้าใจอารมณ์และมุมมองของอีกฝ่ายมากขึ้น

          - เลือกใช้คำที่อ่อนโยนและเอาใจใส่

          - เอาใจเขามาใส่ใจเราเพื่อเข้าใจมุมมองของอีกฝ่ายดียิ่งขึ้น

 

ตัวอย่างของประโยคที่แสดงถึงการฟังอย่างเข้าใจและใส่ใจ เช่น:

          - ฉันเข้าใจในสิ่งที่คุณกำลังเผชิญ

          - ฉันเข้าใจว่าทำไมคุณอาจรู้สึกแบบนั้น

          - นั่นฟังดูน่าคับข้องใจ/ท้าทาย/ค่อนข้างยากเลยทีเดียว

 

          นอกเหนือจากตัวอย่างเมื่อสักครู่ การถามคำถามปลายเปิดจะสามารถช่วยให้ผู้พูดสามารถเปิดใจหรือให้ข้อมูลเพิ่มขึ้น ตัวอย่างของคำถามที่สามารถใช้แทนคำตอบได้ มีดังนี้:

          - คุณมีอะไรในใจที่อยากเล่าออกมาหรือเปล่า?

          - คุณรู้สึกอย่างไรเมื่อสิ่งนั้นเกิดขึ้น?

          - ช่วยเล่าเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ฉันฟังมากขึ้นได้ไหม?

          - ตอนนี้สิ่งนั้นกำลังส่งผลกระทบต่อคุณอย่างไรบ้าง?

 

          มีคำถามมากมายที่คุณสามารถถามออกไปตามความเหมาะสมของสถานการณ์ แต่หลักสำคัญคือการเลือกใช้คำถามปลายเปิดและหลีกเลี่ยงคำตอบสั้น ๆ อย่างเช่น “ใช่” กับ “ไม่” การถามคำถามกลับไปเช่นนี้จะช่วยเพิ่มเวลาให้อีกฝ่ายได้ไตร่ตรองถึงความรู้สึกของตัวเอง จึงทำให้สามารถเล่าเรื่องออกมาได้อย่างละเอียดยิ่งขึ้น

 

 

         HR องค์กรใด อยากบอกรักพนักงานแบบเกร๋ๆ เท่ๆ แนว HR ยุคใหม่ ที่ดูเเลแบบนั่งอยู่ในใจพนักงาน ลองติดต่อ Solution ปรึกษานักจิตวิทยาจาก Relationflip : Innovative Mental Healthcare Web Application ที่พร้อมช่วยพนักงานของคุณดีลกับปัญหาและเป็นที่ปรึกษาในทุกๆ เรื่องนะคะ Tel: 099-0026888 #InnovativeMentalHealthcare #MentalHealthcareService #Relationflip

Reference: https://www.psychologytoday.com/intl/blog/click-here-for-happiness/202309/how-to-listen-with-more-empathy