บทความน่ารู้

7 อุปนิสัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ (7 Habits of Highly Effective People) - Habit 4 : คิดแบบชนะ-ชนะ (Think Win-Win)

          อุปนิสัยที่ 4 คือ Think Win-Win หรือการคิดแบบชนะ-ชนะ ไม่ใช่การทำตัวให้น่าชื่นชอบหรือการแก้ปัญหาให้รวดเร็วเข้าไว้ แต่เป็นอุปนิสัยที่พึงมีในการปฏิสัมพันธ์และร่วมงานกับผู้อื่น

          ผู้คนส่วนมากวางคุณค่าของตัวเองไว้บนการเปรียบเทียบและการแข่งขัน เมื่อคิดถึงการประสบความสำเร็จก็อาจออกมาในรูปแบบของความล้มเหลวของคนอื่น เปรียบเสมือนเหรียญที่มีเพียง 2 ด้าน: หากคุณชนะ คนอื่นก็จะแพ้ หรือหากคุณแพ้ คนอื่นก็จะชนะไปโดยปริยาย และหากคนอื่นได้มากกว่า คุณก็จะรู้สึกไม่พอใจและเกิดความต้องการแย่งจากอีกฝ่ายขึ้นมา เป็นต้น

          การชนะร่วม (Win-win) คือการตกลงร่วมกัน การเลือกทางออกที่เป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่าย และเป็นสัญลักษณ์ของการร่วมมือกัน ไม่ใช่การแก่งแย่งชิงดี การคิดแบบชนะ-ชนะจึงเป็นกรอบความคิดที่ผลักดันการมองหาผลประโยชน์ร่วมในทุกการปฏิสัมพันธ์ของทุกฝ่าย

          การคิดแบบชนะ-ชนะไม่ได้ใช้เพียงความเข้าอกเข้าใจและความเอาใจเขามาใส่ใจเรา แต่ยังรวมไปถึงความกล้าหาญในการสละทางเลือกที่จะนำไปสู่ผลประโยชน์ที่มากกว่า สมดุลระหว่างความกล้าและการนึกถึงผู้อื่นจึงเป็นแก่นแท้ของวุฒิภาวะและความคิดแบบชนะ-ชนะ

 

คุณลักษณะสำคัญทั้ง 3 ประการของการคิดแบบชนะ-ชนะมีดังนี้:

          - ความซื่อสัตย์: ซื่อสัตย์ต่อความรู้สึก คุณค่าที่ตนยึดถือ และพันธสัญญาที่ให้ไว้

          - วุฒิภาวะ: แสดงความคิดและความรู้สึกของคุณด้วยความกล้าหาญ โดยไม่ลืมที่จะคำนึงถึงความคิดและความรู้สึกของผู้อื่น

          - ความรุ่มรวยทางจิตใจ: เปิดใจกว้างในการร่วมมือ และเชื่อว่าทรัพยากรที่ตนเองมีอยู่นั้นเพียงพอที่จะใช้และแบ่งปัน อย่าคิดว่าหากมีใครได้ ก็ต้องมีใครอื่นที่เสีย และอย่าคิดว่าการแก่งแย่งทรัพยากรเป็นเรื่องจำเป็นที่เลี่ยงไม่ได้

 

“In the long run, if it isn’t a win for both of us, we both lose. That’s why win-win is the only real alternative in interdependent realities.”

(เมื่อพิจารณาในระยะยาวแล้ว หากไม่ใช่การชนะร่วมของทุกฝ่าย ก็จะเป็นการแพ้ร่วมกันของทุกฝ่ายแทน เพราะเหตุนี้การชนะร่วมจึงเป็นทางเลือกเดียวในโลกแห่งความเป็นจริงที่พึ่งพาซึ่งกันและกัน)

— Dr. Stephen R. Covey

 

 

         HR องค์กรใด อยากบอกรักพนักงานแบบเกร๋ๆ เท่ๆ แนว HR ยุคใหม่ ที่ดูเเลแบบนั่งอยู่ในใจพนักงาน ลองติดต่อ Solution ปรึกษานักจิตวิทยาจาก Relationflip : Innovative Mental Healthcare Web Application ที่พร้อมช่วยพนักงานของคุณดีลกับปัญหาและเป็นที่ปรึกษาในทุกๆ เรื่องนะคะ Tel: 099-0026888 #InnovativeMentalHealthcare #MentalHealthcareService #Relationflip

Reference: https://www.franklincovey.com/the-7-habits/habit-4/